Page 140 - รวมเล่ม เนื้อหา 6 ด้าน
P. 140

๑๔๒


                                                         5.1 บทนำ


               (1) ข้อมลพื้นฐานของสำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
                       ู

                       ในปี พ.ศ. 2519  คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ส่วนราชการจัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบภายในขึ้นกรุงเทพมหานคร
               จึงได้จัดตั้งงานตรวจสอบบัญชีและการเงินขึ้น โดยเป็นหน่วยงานในสังกัดกองบัญชีและตรวจสอบ สำนักการคลัง
               ต่อมาในปี พ.ศ. 2528  ได้มีการโอนงานตรวจสอบบัญชีและการเงิน ไปขึ้นกับสำนักปลัดกรุงเทพมหานครและ
               เปลี่ยนชื่อเป็นงานตรวจสอบภายใน  มีอัตรากำลัง ณ วันที่โอนจำนวน 16 อัตรา ซึ่งขณะนั้นมีหน่วยรับตรวจ

               จำนวน 15  สำนัก  24  สำนักงานเขต
                         หลังจากนั้นเมื่อวันที่  20  เมษายน  2532  โดยมติ ก.ก. อนุมัติให้ปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วน
               ราชการและกรอบอัตรากำลัง 3 ปี ของสำนักปลัดกรุงเทพมหานครใหม่ งานตรวจสอบภายในจึงยกฐานะขึ้น
               เป็น “กองตรวจสอบภายใน” มีอัตรากำลังประกอบด้วยข้าราชการและลูกจ้างจำนวนทั้งสิ้น 71 อัตรา (เป็น

               ข้าราชการเฉพาะสายงานตรวจสอบจำนวน  50  อัตรา) แบ่งเป็นกลุ่มงานตรวจสอบภายใน 1 - 3 โดยมีหน้าที่
               รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบบัญชีการเงิน การรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การพัสดุ การก่อหนี้ผูกพัน
               งบประมาณรายจ่าย เงินยืมและเงินทดรองราชการ ตรวจสอบหลักฐานการจ่ายเงินของกรุงเทพมหานคร  (ฎีกา
               หลังจ่าย) ตรวจสอบงบเงินรายรับรายจ่ายประจำปี ตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวกับการชี้แจงข้อทักท้วง  หรือ

               ข้อสังเกตของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและของกองตรวจสอบภายใน ติดตามผลการตรวจสอบการบริหาร
               งบประมาณของส่วนราชการ ( เงินอุดหนุนรัฐบาล ) ตามมติคณะรัฐมนตรี ตรวจสอบการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและ
               น้ำมันหล่อลื่นของทางราชการตามมติคณะรัฐมนตรีและการตรวจสอบอื่นใดตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย

               ตามหลักเกณฑและวิธีการที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด
                            ์
                         ต่อมากองตรวจสอบภายในมีคำสั่งที่ 14 / 2548  สั่ง ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2548 เรื่อง การจัดแบ่งกลุ่ม
               งานและอัตรากำลัง ได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นกลุ่มวิชาการและแผนงาน  กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป  และ
               กลุ่มตรวจสอบตามภารกิจ 5 กลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มตรวจสอบการบริหารและการคลัง กลุ่มตรวจสอบการศึกษา
               และสังคม กลุ่มตรวจสอบการสาธารณูปโภคและป้องกันภัย กลุ่มตรวจสอบการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

               กลุ่มตรวจสอบสำนักงานเขต เป็นการแบ่งความรับผิดชอบหน่วยรับตรวจให้ชัดเจน เป็นส่วนตรวจสอบสำนักและ
               ส่วนตรวจสอบสำนักงานเขต โดยมุ่งหวังให้การจัดการข้อมูลในภาพรวมมีประสิทธิภาพ เกิดความชัดเจนและใช้
               เวลาในการดำเนินงานน้อยลง

                                                                    ี
                         นอกจากเหตุผลที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีเหตุผลที่สำคัญอกประการหนึ่งในการปรับเปลี่ยนการตรวจสอบ
               คือวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบภายในได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เป็นการตรวจสอบทางการเงิน (Financial
               Audit) ที่มุ่งเน้นความถูกต้องของตัวเลขมาเป็นการตรวจสอบภายในแนวใหม่ที่มีคำจำกัดความของการตรวจสอบ
               ภายในว่า “ การตรวจสอบภายในคือการให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงธรรมและเป็นอิสระ

               เพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กร การตรวจสอบภายในช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายด้วย
               การประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุมและการกำกับดูแล อย่าง
               เป็นระบบและเป็นระเบียบ”  ซึ่งการปรับปรุงการตรวจสอบจำเป็นให้เพิ่มกลุ่มวิชาการและแผนงาน มาเพื่อทำ
               หน้าที่ด้านการให้คำปรึกษาแก่หน่วยรับตรวจและพัฒนาวิธีการและระบบการตรวจสอบภายในให้ทันกับเทคโนโลยี

               ที่เปลี่ยนแปลงไป
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145