Page 141 - รวมเล่ม เนื้อหา 6 ด้าน
P. 141
๑๔๓
จากเหตุผลดังกล่าวกองตรวจสอบภายในจึงได้ขออนุมัติปรับปรุงโครงสร้างและบทบาทของหน่วยงาน
เพื่อให้ทันต่อสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมุ่งหวังให้การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในเกิดประสิทธิภาพ
ประสิทธิผลและเกิดความคุ้มค่า ซึ่งจะส่งเสริมให้กรุงเทพมหานครมีระบบการตรวจสอบภายในที่เข้มแข็ง
การปฏิบัติงานโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ สอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี และทำให้เกิด
การพัฒนายิ่งขึ้นต่อไป
ปัจจุบันตามมติ ก.ก. ครั้งที่ 5/2551 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2551 อนุมัติให้ปรับปรุงโครงสร้าง
และกรอบอัตรากำลังของกองตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เป็น สำนักงานตรวจสอบภายใน
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร และยกฐานะเป็นส่วนราชการที่มีฐานะสูงกว่ากอง โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน
พ.ศ.2551 เป็นต้นไป ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนด
อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 67) ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551
สำนักงานตรวจสอบภายใน ได้มีการจัดแบ่งส่วนราชการตามภารกิจ ออกเป็น 4 ส่วนราชการ ได้แก่
(1) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป (2) กลุ่มพัฒนางานตรวจสอบภายใน (3) ส่วนตรวจสอบภายใน 1 ประกอบด้วย
(3.1) กลุ่มตรวจสอบการบริหารการคลัง (3.2) กลุ่มตรวจสอบการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และ (3.3)
กลุ่มตรวจสอบการสาธารณูปโภคและป้องกันภัย และ (4) ส่วนตรวจสอบภายใน 2 ประกอบด้วย (4.1) กลุ่ม
ตรวจสอบการศึกษาและสังคม และ (4.2) กลุ่มตรวจสอบสำนักงานเขต
(2) ภารกิจของสำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
สำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานครมีภารกิจและหน้าที่สำคัญในการให้ความเชื่อมั่น
ุ่
(Assurance) และคำปรึกษา (Consultancy) แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะมงสร้าง
คุณค่าเพิ่ม (Added Value) พัฒนา และปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ
้
ประสิทธิผล และถูกต้องตามขอกฎหมายต่าง ๆ โดยผู้ตรวจสอบภายในจะจัดทำแผนการตรวจสอบ (Audit Plan)
ได้แก่ แผนการตรวจสอบภายในระยะยาว (Long-term Audit Plan) แผนการตรวจสอบประจำปี (Annual Audit
ื่
Plan) และแผนการปฏิบัติงานตรวจสอบ (Engagement Plan) ตามฐานความเสี่ยง (Risk-based) เพอที่จะเลือก
หน่วยงาน งาน โครงการ หรือกิจกรรมที่จะเข้าตรวจสอบ ซึ่งในแต่ละภารกิจ (Engagement) ที่วางแผนและได้รับ
มอบหมายให้เข้าตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบภายในจะบูรณาการ (Integrate) การตรวจสอบหลายประเภทเข้าด้วยกัน
ตามวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบในแต่ละภารกิจที่ต้องการจะไปสอบทานหรือพิสูจน์การควบคุมในแต่ละด้าน
ื่
ของการปฏิบัติงาน เช่น ตรวจสอบบัญชีและการเงิน (Financial Audit) มีวัตถุประสงค์เพอต้องการพิสูจน์ความ
ถูกต้องและเชื่อถือได้ของข้อมูลทางการเงินหรือรายงานทางการเงิน การตรวจสอบการดำเนินงาน (Operational
or Performance Audit) มีวัตถุประสงค์เพอต้องการพิสูจน์ความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่าของ
ื่
้
การดำเนินงาน การตรวจสอบการปฏิบัติตามขอกำหนด (Compliance Audit) หรือการตรวจสอบหลักฐานการ
จ่ายเงิน (ฎีกาหลังจ่าย) ต้องการพิสูจน์ว่าหน่วยงานปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ นโยบาย และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
กับการปฏิบัติงานหรือไม่ การตรวจสอบพิเศษ (Special Audit) เช่น การพิจารณาเรื่องร้องเรียน การวิจัยหรือพัฒนา
ฯลฯ มีวัตถุประสงค์เพอต้องการทราบข้อเท็จจริงหรือข้อมูลผลการปฏิบัติงาน สำหรับให้ผู้บริหารพิจารณาและ
ื่
ตัดสินใจ การตรวจสอบนำร่อง (Pilot Project) มีวัตถุประสงค์เพอต้องการที่จะนำมาตรฐานหรือวิธีการปฏิบัติงาน
ื่