Page 203 - รวมเล่ม เนื้อหา 6 ด้าน
P. 203
๒๐๕
พื้นที่ด้านสุขภาพภายในชุมชน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในชุมชน เมื่อเห็นว่าเกิดกระแสการตอบ
รับจากนักท่องเที่ยว ก็จะมีการรวมกลุ่มกันมากขึ้น โดยทางชุมชนจะมีการประชุม ทำความเข้าใจกับประชาชน
ในพื้นที่ โดยมีสำนักงานเขตลาดกระบังเป็นแกนกลาง เพื่อให้เห็นโอกาสในการดำเนินงานการท่องเที่ยงเชิง
สุขภาพมากขึ้น ส่วนของการท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรม เป็นการต่อยอดจากเดิมซึ่งชุมชนมีการดำเนินการอยู่แล้ว
เช่น การเดินเที่ยว ในพื้นที่ย่านหัวตะเข้ การล่องเรือชมศิลปวัฒนธรรม และประเพณีดั้งเดิม ในแหล่งท่องเที่ยว
ต่าง ๆ ซึ่งทางคณะผู้จัดทำเห็นว่า หากนำการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพไปไว้ในเรือ และล่องไปตามเส้นทางท่องเที่ยว
ต่าง ๆ จะเป็นอีกหนึ่งกิจกรรม ที่สร้างความแปลกใหม่ และเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมกิจกรรม ได้รับ
ความรู้จากไกด์ท้องถิ่นซึมซับวัฒนธรรม และได้ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในคราวเดียวกัน โดยร่วมกันสนับสนุนให้เกิด
้
เส้นทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและวัฒนธรรมทางเรือ ได้แก่ นวด สปา อาหารสุขภาพ และการรับฟังขอมูล รวมถึง
ได้ชมบรรยากาศและวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวชุมชนในพื้นที่เขตลาดกระบัง
๒.๓ ข้อมูลสภาพพื้นที่ที่จะนำมาพัฒนา หรือ ข้อมูลที่จะนำมาจัดทำเป็นโครงการ
พื้นที่หัวตะเข้มีลักษณะทางกายภาพ ที่เหมาะสมตั้งอยู่ริมคลองประเวศบุรีรมย์ บริเวณจุดตัด
กับคลองลำปลาทิวจากทางด้านทิศเหนือ ซึ่งอดีตสามารถเข้าถึงได้จากลำคลอง แต่ปัจจุบันสามารถเดินทางเข้าถึง
ได้จากทางซอยลาดกระบัง ๑๗ ถนนลาดกระบัง บริเวณเชิงสะพานข้ามคลองลำปลาทิว และทางรถไฟสาย
ตะวันออกที่สถานีหัวตะเข้ ย่านหัวตะเข้-ลาดกระบัง เป็นพื้นที่ที่มีความเก่าแก่กว่า ๑๐๐ ปี โดยเป็นตลาดชุมชน
ริมน้ำย่านการค้าสำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ทางด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ ไปจนถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา ใน
้
ด้านชุมชนพบว่าประชาชนในชุมชนมีการรวมกลุ่มกันตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันจนเป็นชุมชนที่เขมแข็ง ซึ่งปัจจุบัน คือ
ชุมชนหลวงพรต-ท่านเลี่ยม แต่เดิมประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขายทางน้ำ ส่วนกลุ่มที่อาศัยอยู่ห่างออกไปก็จะ
เป็นการทำการเกษตร ส่วนในปัจจุบัน ลักษณะของตลาดเปลี่ยนไป การค้าขายย้ายออกไปจากชุมชน เหลือเพยง
ี
การค้าขายให้กับคนในชุมชนเป็นหลัก คนในชุมชนมีการประกอบอาชีพด้านอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เช่น การรับจ้าง การ
ทำงานในนิคมอุตสาหกรรม ทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจลดลงจากเดิม นอกจากนี้ยังพบว่าชุมชนหัวตะเข้กำลังอยู่
ในช่วงฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน โดยมีการพัฒนาเรื่องการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตดั้งเดิม
ประกอบเข้ากับสถานการณ์ประเทศในปัจจุบันส่งผลให้เศรษฐกิจซบเซา ประชาชนไมมีงานทำ ขาดรายได้ ดังนั้น
่
จึงเป็นโอกาสพัฒนาต่อยอดในรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นในชุมชน และ
เป็นสิ่งที่ประชาชนคาดหวังที่จะเกิดขึ้น เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ และ ให้โอกาสประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมใน
ิ่
ความคิดเห็นและลงมือทำได้ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาชุมชน เพมการเรียนรู้สืบสานภูมิปัญญาของชุมชน ทำให้
เกิดการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นมากขึ้น โดยการดำเนินโครงการดังกล่าวจะดำเนินสนับสนุนและพัฒนาภายใต้
ผลประโยชน์ต่อชุมชน สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม โดยคนในชุมชนเป็นเจ้าของร่วมกันและสามารถยกระดับ
ชุมชนหัวตะเข้เป็นชุมชนต้นแบบในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของกรุงเทพฯ และมีส่วนร่วมทำให้ประเทศ
มีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวต่อไป
๓. วัตถุประสงค์
๓.๑ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวย่านหัวตะเข้-ลาดกระบังในเชิงสุขภาพและวัฒนธรรมแนววิถีใหม่
๓.๒ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนให้คนในชุมชนสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น