Page 74 - ตำนานการสวดพระมาลัย
P. 74

๖๘


               ๓. ซิมง เดอ ลาลูแบร์ (Simon de la Loubère)



                       ชื่อของลาลูแบร์นั้นเป็นที่รู้จักกันดีในบรรดาผู้ที่สนใจในประวัติศาสตร์อยุธยาซึ่งต้องการทราบ
               รายละเอียดต่าง ๆ ของราชอาณาจักรอยุธยา ลาลูแบร์เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๑๘๕/ค.ศ.๑๖๔๒ ที่เมืองตูลูส

                                                  ี่
               (Toulouse) ประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้ทได้รับการศึกษาอย่างดีจากปารีสและได้รับแต่งตั้งจากพระเจ้า
               หลุยส์ที่ ๑๔ ให้เป็นเอกอัครราชทูตมายังกรุงสยามเพื่อเจรจาความทางด้านการค้าที่ยังไม่เรียบร้อยนับ

                                            ิ
               แต่ที่เชอวาลิเยร์ เดอ โชมอง เดนทางกลับ ลาลูแบร์เดินทางเข้ามาถึงสยามในเดือนกันยายน พ.ศ.
                                                                         ้
                                                                ่
               ๒๒๓๐ และพํานักอยู่ในสยามเพียงแค่ ๓ เดือนกว่าเทานั้น ก็ไดเดินทางออกจากประเทศสยามเมื่อ
               วันที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๒๓๑ หลังจากนั้น ๓ ปี ผลงานเรื่อง Du Royaume de Siam ก็ได้รับการ

               ตีพิมพ์ครั้งแรกที่กรุงอัมสเตอร์ดัม


                       ผลงานเรื่องราชอาณาจักรสยามนี้ รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับชาวสยามไว้มากมาย เนื้อเรื่อง

               ทั้งหมดแบ่งเป็น ๒ เล่มใหญ่ ในเล่ม ๑ นั้นว่าด้วยประเทศสยาม ขนบธรรมเนียมประเพณี จารีต

               ลําดับชั้นของบุคคลในสังคม ส่วนในเล่มที่ ๒ ว่าด้วยความเชื่อทางศาสนา การดาราศาสตร์ การนับปี

               ศักราชของชาวสยาม


                                                                                      ิ
                       ลาลูแบร์จดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้อย่างละเอียดด้วยมุมมองของนักคดนักเขียนในสมัย
               คริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ ที่มีความสนใจเป็นอย่างยิ่งต่อภาษา (language) ในฐานะที่เป็นผลผลิตที่เป็น

                                               ั้
               รูปธรรมของระบบวัฒนธรรม ดังนน เราจึงไม่แปลกใจเลยที่พบว่า ลาลูแบร์ให้ความสําคัญมากกับ
               “คํา” และ “ความ” ของภาษาไทย ทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน เช่นเมื่อกล่าวถึงระบบการศึกษา

               ในสยาม ก็ระบุว่า “ชาวสยามเขียนหนังสือสยามและบาลีจากทางซ้ายมือไปทางเดียวกับที่เราเขียนใน

               ยุโรป ซึ่งเป็นการแตกต่างกับการเขียนหนังสือของชาวเอเซียส่วนใหญ่ซึ่งเขียนจากขวามาซ้าย...อนึ่ง

               หนังสือสยามยังมีที่แผกกันกับหนังสือจีน กล่าวคือมิได้มีอักษรตัวหนึ่งส าหรับค าๆ หนึ่ง หรือมี

                                                                          ี่
               ความหมายจ ากัดความเป็นค า ๆ ไป เพื่อให้การเขียนนั้นไม่เป็นทเคลือบแคลงสงสัย เหมือนในการพูด
                                                                                  ั
               ออกไปด้วยวาจา ภาษาสยามและภาษาบาลีนั้นมีอักษรน้อยตัวเหมือนหนงสือของเรา น าเอามาผสม
               เป็นพยางค์ และเป็นค า...”


                                                                                               ิ์
                       หรือเมื่อระบุถึงชื่อเฉพาะในภาษาสยามก็จะแสดงความเห็น ไว้ เชน บรรดาศักดคําว่า “ออก
                                                                                  ่
               นี้คล้ายจะหมายความว่าหัวหน้า (Chef) ด้วยว่ายังมีบรรดาศักดิ์อีกอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีต าแหน่งหน้าที่คือ

               ออกเมือง (Oc-Meuang) ซึ่งดูเหมือนจะแปลว่า หัวหน้าเมือง (Chef de Ville) และบุคคลต้องได้รับ
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79