Page 71 - ตำนานการสวดพระมาลัย
P. 71

๖๕


                           ึ้
               แรกที่เขียนขนโดยชาวต่างประเทศนอกเหนือจากนี้เมื่อความรู้ภาษาไทยของท่านแตกฉานแล้ว ได       ้
               เรียบเรียงหนังสือขึ้นอีกถึง ๒๖ เล่ม ส่วนใหญ่เป็นคําสอนคริสตัง หนังสือสวดภาวนา เช่น ปุจฉา

               วิสัชนาว่าด้วยพระคริสต์ธรรมและพุทธศาสนา, อรรถกถาอธิบายศีล, ประวัตินักบุญ เป็นต้น เอกสาร

                                                                            ่
                                                                                              ุ
               เหล่านี้เขียนด้วยภาษาไทยแต่ส่วนใหญ่ได้สูญหายไปหมดแล้วตั้งแตคราวเสียกรุงศรีอยธยา
                       หลักฐานอีกประการหนึ่งที่แสดงว่าท่านลาโนให้ความสนใจต่อเอกสารและภาษาไทยคือ เมื่อ

               ครั้งที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดฯ ให้ท่านสังฆราชลอมแบร์ เดอ ลา มอตต์ เข้าเฝูาฯกราบ

               บังคมทูลเรื่องราวทางคริสตศาสนานั้น “พระสังฆราชได้ทูลเกล้าฯ ถวายสมุดภาพเป็นเรื่องราว
                                         ์
               มหัศจรรย์ของชีวิตและการถูกทรมานของพระเยซูผู้เป็นเจ้า ภาพอัครสาวกทั้งสิบสอง ผู้เขียนคัมภีร์ ผู้

               ก่อตั้งคณะมิสซังต่างประเทศและนักบุญที่มีชื่อเสียงของพระศาสนา บาทหลวงลาโนได้แทรกกระดาษ

               เขียนค าอธิบายแต่ละภาพเป็นภาษาสยามไว้ในสมุดภาพนั้นด้วย”


                       สําหรับหนังสือของท่านเล่มหนึ่งที่มีความสําคัญไม่น้อยไปกว่าพจนานุกรมสยาม-ละติน

               คือ “ปุจฉาวิสัชนาว่าด้วยพระคริสต์ธรรมและพุทธศาสนา” ซึ่งเสรี พงศ์พิศให้ความเห็นไว้อย่าง

               น่าสนใจว่า “ท่านเขียนหนังสือเล่มนี้ตามแบบอย่างของนักปรัชญาสมัยกลาง ที่มักยกเอาความคิดของ

                                                                                                     ี่
               คู่ต่อสู้ต่างส านัก หาเหตุผลหักล้างและสรุปความถูกต้องหรือความเหนือกว่าของตน วิธีนี้เป็นทนิยม
               แพร่หลายอีกครั้งหนึ่งเมื่อเกิดนิกายโปรแตสแตนที่ขนมาในกลางศตวรรษที่ ๑๖ เป็นลักษณะการ
                                                               ึ้
               โต้วาทีทางศาสนา ท่านลาโนเขียนขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการสอนหลักธรรมทางศาสนาคริสต์ เป็น
                                                [๖]
               คู่มือส าหรับบาทหลวงและครูสอน”  เอกสารต้นฉบับยังคงจัดเก็บอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติ กรุงปารีส มี

               ลักษณะเป็นใบลาน ๑ ผูก เลขรหัส ๒๖๑ เป็นเอกสารฉบับที่ ๑๓ ในบรรณานุกรมระบุชื่อเป็น
                                                               [๗]
               ภาษาไทยว่า “เถียงสาษมา” ซึ่งก็คือ “เถียงศาสนา”  ผู้เขียนสันนษฐานว่าลักษณะการเขียนหนังสือ
                                                                             ิ
               ในทํานองการเถยงธรรมเช่นนี้ น่าจะกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศของการถกเถียงทางวิชาการที่สําคัญใน
                              ี
               หมู่นักปราชญ์ราชบัณฑิตและในราชสํานักสยามและอาจเป็นที่มาของการบันทึกข้อปุจฉาวิสัชนาใน

               ประเพณีมีพระราชปุจฉาซึ่งเอกสารที่พบเก่าที่สุดมีอายุอยู่ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชด้วยก็

               เป็นได  ้


                       ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นนี้สะท้อนความตั้งใจและความสนใจของบรรดามิชชันนารีรุ่นแรกที่เข้า

               มายังสยามที่จะต้องเรียนรู้ผู้อื่นและปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นให้ได้ ก่อนที่จะเผยแผ่ศาสนาตาม

                                   ้
               วัตถุประสงค์เดิมที่ไดตั้งไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาภาษาอันจะเป็นรากฐานที่สําคัญของการ
               ประกอบกิจการอื่น ๆ ในต่างแดน
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76