Page 72 - ตำนานการสวดพระมาลัย
P. 72
๖๖
๒. นิโคลาส์ แชร์แวส (Nicolas GERVAISE)
นิโคลาส์ แชร์แวส (Nicolas GERVAISE) เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๐๕/ค.ศ.๑๖๖๒ ที่กรุงปารีส
ประเทศฝรั่งเศส เป็นบุตรชายของนายแพทย์ประจําตัวนายฟูเกต์ (Fouquet) ซึ่งเป็นรัฐมนตรีคลังใน
สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ได้เดินทางเข้ามายังสยามเมื่อปี พ.ศ.๒๒๒๔ พร้อมกับคณะของมิชชันนารี
[๙]
คณะมิซซังต่างประเทศ ขณะมีอายุ ๑๙ ปี และพํานักอยู่ในสยามถึง พ.ศ.๒๒๒๘ เมื่อกลับไปยัง
ประเทศฝรั่งเศส แล้วได้เรียบเรียงหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Histoire Naturelle et Politique du
[๑๐]
Royaume de Siam พรรณนารายละเอียดต่างๆทั้งด้านการเมือง การปกครอง การศาสนา วิถ ี
ชีวิตของคนอยุธยาตามที่พบเห็น ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๒๓๑
หนังสือเล่มนี้พรรณนารายละเอียดปลีกย่อยและให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่สําคัญมากเล่มหนึ่งซึ่งนัก
ประวัติศาสตร์ไทยและผู้ที่สนใจรู้จักกันดี เช่นเดียวกับผลงานของลาลูแบร์ นิโคลาส์ แชร์แวส ได้เน้น
รายละเอียดของภาคที่ว่าด้วยพุทธศาสนาในสยามไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง ผู้เขียนไดศึกษาหนังสือเล่มน ี้
้
และพบว่ามีความบางตอนที่บ่งบอกถึงความสนใจของแชร์แวสต่อเอกสารไทยด้วย
ในส่วนที่ ๓ ของหนังสือซึ่งเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาทั้งหมด ได้แบ่งออกเป็นอีก ๑๓ บทย่อย
ี่
โดยในแต่ละหัวข้อจะเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น บทที่ ๑ ว่าด้วยเรื่องศรัทธาของชาวสยาม บทท ๒ ว่า
ด้วยพิธีกรรมทางศาสนาของชาวสยาม ในบทที่ ๘ เป็นหัวข้อที่ว่าด้วยภูมิวิทยาของพระภิกษุและ
ข้อคิดเกี่ยวกับสวรรค์และพิภพ ในบทนี้เองที่ผู้เขียนพบว่ามีเนื้อความที่น่าสนใจคือ แชร์แวสระบุว่า
เหล่าพระสงฆ์จะให้ความเคารพนับถือครูอาจารย์อย่างมั่นคงและศรัทธาอย่างยิ่งต่อตําราที่โบราณา
จารย์สั่งสอนโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดใดทั้งสิ้น หนังสือตําราที่แชร์แวสสนใจนนคงเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับ
ั้
พุทธศาสนา ความตอนหนึ่งระบุว่า “ที่ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นค าแปลที่เรียบง่ายและ
ตรงไปตรงมาของหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งชาวสยามนิยมเลื่อมใสกันมาก ข้าพเจ้าได้ค้นพบมาด้วยความ
ยากล าบากจากหอหนังสือของพระสังฆราชองค์หนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงมากและได้ขอให้พวกอาลักษณ์
คัดลอกข้อความและภาพให้”
์
เนื้อหาของหนังสือเล่มดังกล่าวเกี่ยวกับภพภูมิสวรรคชั้นต่างๆ โดยแชร์แวสระบุว่า “เขาได ้
ก าหนดไว้ว่าสวรรคนั้นมีสิบเก้าชนเรียงซ้อนกันอยู่โดยมีขนาดใหญ่ เล็กต่างกัน” จากนั้นเป็นการ
ั้
์
พรรณนาสวรรค์แต่ละชั้น แล้วเริ่มเรื่องพระอาทิตย์พระจันทร์และทวีปทั้ง ๔ ตามความเชื่อในเรื่องไตร
ภูมิ เช่นว่า “มนุษย์และสัตว์ในทวีปทั้งสี่นี้มีรูปหน้าไม่เหมือนกันพวกที่อยู่ทางด้านอุดรและทิศทักษิณมี
ิ
่
ใบหน้าเป็นรูปกลม พวกที่อยู่ทางทิศบูรพามีใบหน้าคอนไปทางรูปไข่ พวกที่อยู่ทางทศประจิมมีใบหน้า