Page 69 - ทักษะการเรียนรู้ ประถม
P. 69
60
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ท าให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก สร้างความรู้และความเข้าใจได้
มากกว่าการเรียนรู้จากหนังสือ หรือการฝึกอบรมตามปกติ เครือข่ายที่ไม่เป็นทางการในเวทีชุมชนนัก
ปฏิบัติซึ่งมีสมาชิกจาก ต่างหน่วยงาน ต่างชุมชน จะช่วยให้องค์กรหรือชุมชนประสบความส าเร็จได้ดีกว่า
การสื่อสาร ตามโครงสร้างที่เป็นทางการ
การเล่าเรื่อง
การถอดความรู้ฝังลึก ด้วยกิจกรรมเรื่องเล่าเร้าพลัง
การเล่าเรื่องเป็นเทคนิคของการใช้เรื่องเล่าในกลุ่มเพื่อนแบ่งปันความรู้ หรือสร้างแรงบันดาลใจ
ในการพัฒนาการปฏิบัติงาน โดยใช้ภาษาง่าย ๆ ในชีวิตประจ าวัน เล่าเฉพาะ เหตุการณ์ บรรยากาศตัวละคร
ที่เกี่ยวข้องกับผู้เล่าในขณะที่เกิดเหตุการณ์ตามจริง เล่าให้เห็นบุคคล พฤติกรรม การปฏิบัติ การคิด
ความสัมพันธ์ ข้อส าคัญผู้เล่าต้องไม่ตีความระหว่างเล่า ไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้เล่าในเรื่องขณะที่เล่า
เมื่อเล่าจบแล้วผู้ฟังสามารถซักถามผู้เล่าได้
การเล่าเรื่องที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้
1. เรื่องที่เล่าต้องเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น อย่าแต่งเรื่องขึ้นมาเอง
2. เรื่องเล่าสอดคล้องกับหัวปลาหรือประเด็นของกลุ่ม
3. มีชื่อเรื่องที่บอกถึงความส าเร็จ
4. ผู้เล่าเป็นเจ้าของเรื่อง
5. ลีลาการเล่า เร้าพลังผู้ฟังให้เกิดแนวคิดที่จะน าไปปฏิบัติหรือคิดต่อ
6. เรื่องที่เล่า ควรจบภายในเวลาไม่เกิน 5 นาที
7. ท่าทางขณะเล่า เล่าอย่างมีชีวิตชีวาจะท าให้เกิดพลังขับเคลื่อน
8. การเล่าเรื่อง ต้องให้ครบทั้ง 3 ส่วน คือ เป็นมาอย่างไร แก้ปัญหาอย่างไร และได้ผลเป็น
อย่างไร
กิจกรรมการเล่าเรื่อง
1. ให้คุณกิจ (สมาชิกทุกคน) เขียนเรื่องเล่าประสบการณ์ความส าเร็จในการท างานของ
ตนเองเพื่อให้ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ปรากฏออกมาเป็น ความรู้ชัดแจ้ง
(Explicit Knowledge) ลงในกระดาษ A4 ส่งครูผู้สอนก่อนเล่าเรื่อง
2. เล่าเรื่องความส าเร็จของตนเอง ให้สมาชิกในกลุ่มย่อยฟัง
3. คุณกิจ (สมาชิก) ในกลุ่ม ช่วยกันสกัดขุมความรู้ จากเรื่องเล่า เขียนบนกระดาษ
ฟลิปชาร์ด