Page 85 - วทยทษะ
P. 85
81
4. ไอโซโทป ไอโซบาร์ และไอโซโทน
5.4.1 ไอโซโทป (Isotope)
จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่าในธรรมชาติมีธาตุ
หลายชนิด เมื่อพิจารณาแล้ว พบว่าเป็นธาตุชนิดเดียวกันมีเลขอะตอม
เท่ากันแต่มีเลขมวลต่างกัน นักวิทยาศาสตร์เรียกอะตอมของธาตุ ชนิด
เดียวกันมีเลขอะตอมเท่ากันแต่มีเลขมวลต่างกันว่า ไอโซโทป เช่น
ไฮโดรเจน มี 3 ไอโซโทป คือ H. SH, H การอ่านชื่อธาตุไฮโดรเจน ทั้ง 3
ไอโซโทปมีชื่อเรียกเฉพาะ ดังนี้
H อ่านว่า โปรเดียม (Protium) ซึ่งก็คือ ไฮโดรเจนธรรมดาแต่ละอะตอมมี
1 โปรตอบ ไม่มีนิวตรอน
H อ่านว่า ดิวทิเรียม (Deuterium) แต่ละอะตอมมี 1 โปรตอน และ 1
นิวตรอน H อ่านว่า ตริเทียม (Tritium) แต่ละอะตอมมี 1 โปรตอน และ
2 นิวตรอน
5.4.2 ไอโซโทน (Isotone)
ไอโซโทน หมายถึง อะตอมของธาตุต่างชนิดกัน แต่มีจํานวน
นิวตรอนเท่ากัน เช่น 19 K กับ 10 Ca เป็นไอโซโทนกัน เพราะต่างก็มี
นิวตรอนเท่ากัน คือ 20 11B กับ 12 C เป็นไอโซโทนกัน เพราะต่างก็มี
นิวตรอนเท่ากัน คือ 6
6 Co โคบอลต์-60 เป็นธาตุกัมมันตรังสี ใช้เป็นแหล่งกําเนิดรังสีแกมมา
เพื่อนําไปใช้ในการ รักษาโรคมะเร็ง