Page 89 - วทยทษะ
P. 89

85



               แบบจําลองอะตอมของดอลตันมา  อธิบายได้นักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อมาได้


               พัฒนาแบบจําลองอะตอมขึ้นใหม่  เช่น แบบจําลองอะตอมของทอม  สัน


               แบบจําลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด  แบบจําลองอะตอมของนีลส์  โบร์


               และแบบจําลองอะตอมแบบ กลุ่มหมอก


                       อะตอมของธาตุ  ประกอบด้วย  อนุภาคมูลฐาน  3 ชนิด ได้แก่


               โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน โดยที่ โปรตอนและนิวตรอนอยู่


               รวมกันตรงกลาง เรียกว่า นิวเคลียส สําหรับอิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่รอบ ๆ


               นิวเคลียสเป็นระดับพลังงานต่าง ๆ จํานวนอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบ


               นิวเคลียสสูงสุดในแต่ละระดับพลังงาน  มีค่าเท่ากับ 2n เมื่อ n คือ ระดับ


               พลังงานของอิเล็กตรอน


                       การบรรจอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงานจะเริ่มจากระดับ


               พลังงานที่อยู่ในสุด หรือใกล้นิวเคลียส ที่สุดก่อน โดยบรรจุอิเล็กตรอนให้


               เต็มในแต่ละระดับตามสูตร 2n แล้วค่อยบรรจุอิเล็กตรอนต่อในระดับ


               พลังงานวงถัดไป แต่เวเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุจะมีได้ไม่เกิน 8


                       นิวตรอนเรียกว่า เลขมวล ในการเขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ


               จะเขียนเลขอะตอมไว้ที่มุมล่างซ้ายและ  เขียนเลขมวลไว้ที่มุมบนซ้ายของ


               สัญลักษณ์ธาตุ สําหรับธาตุชนิดเดียวกันที่มีเลขอะตอมเท่ากัน แต่เลขมวล


               ต่างกันเรียกว่า ไอโซโทป ส่วนธาตุต่างชนิดกันที่มีจํานวนนิวตรอนเท่ากัน


               เรียกว่า ไอโซโทน และเรียกธาตุ  ต่างชนิดกันที่มีเลขมวลเท่ากัน  แต่เลข


               อะตอมต่างกันว่า ไอโซบาร์
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94