Page 28 - รายงานสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำ เขตอุทยานแห่งชาติภาคใต้
P. 28
บทที่ 3
ผลการสำรวจถ้ำ
3.1 ลักษณะสัณฐานแบบคาสต์
รูปร่างของพื้นผิวเปลือกโลกที่ปรากฏให้เห็น เกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก
และกระบวนการทางธรณีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของผิวโลก เช่น การผุพัง การกัดกร่อน การกัด
เซาะ และการพัดพา เป็นต้น โดยมีตัวกลางในการนำพาวัสดุต่างๆ บนผิวโลกให้เคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยัง
อีกที่หนึ่ง เช่น น้ำ ลม ธารน้ำแข็ง และแรงโน้มถ่วง เป็นต้น ภูมิประเทศแบบคาสต์มีลักษณะโดดเด่น
ปรากฏให้เห็นชัดเจนบนภาพถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม ภูมิประเทศแบบคาสต์
หรือภูมิประเทศของหินปูนที่ถูกกัดเซาะ หรือผุพังจากน้ำฝนและน้ำผิวดินที่ละลายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
จากบรรยากาศจนกลายเป็นกรดคาร์บอนิก ไหลซึมเข้าไปตามรอยแตกหรือช่องว่างต่างๆ ในชั้นหินปูน
หินปูนถูกละลายและถูกกัดกร่อนมาก เป็นเวลายาวนาน เกิดลักษณะภูมิประเทศแบบคาสต์และถ้ำ
สามารถแบ่งลักษณะภูมิประเทศแบบคาสต์ออกเป็น 2 แบบ Gorshkov and Yakushowa (1967) คือ
1) ภูมิประเทศแบบคาสต์พื้นผิว หมายถึง รูปร่างของพื้นผิวที่เกิดจากการไหลของน้ำบนพื้นผิวหินปูน
และรอยแตกของหินปูนจนเกิดลักษณะภูมิประเทศหรือสัณฐานต่างๆ เช่น แอ่งคาสต์ (Doline)
คาสต์รูปกรวยและคาสต์รูปหอคอย (Karst cones and Karst tower) กำแพงคาสต์ (Karst wall) เป็นต้น
และ 2) ภูมิประเทศแบบคาสต์ใต้ผิวดิน หมายถึง รูปร่างของคาสต์ที่เกิดใต้พนผิวจากทางน้ำใต้ดินที่ไหลลง
ื้
ไปตามรอยแตก รอยเลื่อนของหินปูนทำให้เกิดการละลายของหินปูนจนเกิดโพรง หรือช่องว่าง
มีทั้งช่องว่างในแนวดิ่ง ช่องว่างในแนวราบ และถ้ำ (รูปที่ 3.1 และรูปที่ 3.2)
การเกิดถ้ำในหินปูน เริ่มต้นจากน้ำฝนและน้ำผิวดินที่ละลายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จาก
บรรยากาศจนกลายเป็นกรดคาร์บอนิค [1] มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ไหลซึมเข้าไปตามรอยแตกหรือช่องว่าง
ต่างๆในชั้นหินปูน และจะทำให้เกิดการละลายของแร่แคลไซต์ (CaCO3) ที่เป็นองค์ประกอบหลักของ
หินปูน จนกลายเป็นแคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต [2] เมื่อเวลาผ่านไปช่องว่างเหล่านั้นก็จะถูกละลาย
มากขึ้นและขยายจนเป็นโพรงขนาดใหญ่ และโพรงประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นใต้ระดับน้ำ ซึ่งจะเรียก
โพรงประเภทนี้ว่า โถงน้ำ (phreatic tube หรือ solution channels) ต่อมาเมื่อระดับน้ำใต้ดินลดระดับลง
หรือแผ่นดินมีการยกตัว ทำให้ระดับน้ำในโถงถ้ำลดลง ถ้ำดังกล่าวจึงโผล่ขึ้นมาอยู่เหนือระดับน้ำ จากนั้น
น้ำจากเพดานถ้ำ หรือผนังถ้ำไหลซึมเข้ามาในโถงถ้ำที่แห้ง สารละลายแคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตเมื่อ
ได้รับความร้อนจะทำให้เกิดประติมากรรมถ้ำ เช่น หินงอก หินน้ำไหล ม่านหินย้อย ทำนบหินปูน
และหินย้อย เป็นต้น [3] สามารถที่จะแสดงได้ด้วยสมการทางเคมี ดังนี้คือ
H2O (l) + CO2 (g) H2CO3 (aq) กรดคาร์บอนิก [1]
CaCO3(s)+H2CO3(aq) Ca(HCO3)2(aq) [2]
Ca(HCO3)2(aq) CaCO3(s)+H2O+CO2(g) [3]