Page 31 - รายงานสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำ เขตอุทยานแห่งชาติภาคใต้
P. 31
23
ี
ไประดับน้ำใต้ดินลดลงหรือแผ่นเปลือกโลกมีการยกตัว โถงถ้ำที่มีน้ำเต็มโถงก็กลายเป็นโถงถ้ำที่ไม่มน้ำ (โถงบก
หรือโถงแห้ง) น้ำที่ซึมมาตามรอยแตกและรอยเลื่อนละลายหินปูนไหลเข้ามาในโถงถ้ำแห้งเกิดประติมากรรม
ถ้ำจำนวนมาก เช่น หินงอก หินย้อย เสาหิน หินน้ำไหล และทำนบหินปูน เป็นต้น ส่วนระดับน้ำที่ลดลงก็จะ
ี
ไปสร้างโถงถ้ำใหม่บริเวณด้านล่างโถงบกอกชั้นหนึ่ง เกิดเป็นวัฏจักรการเกิดถ้ำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็น
โถงถ้ำหลายชั้น (รูปที่ 3.5)
แนวทางในการบริหารจัดการแหล่ง : แหล่งนี้มีศักยภาพในการพัฒนาและการบริหาร
จัดการอยู่ในระดับปานกลางสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับจังหวัดได้ ควรมีเพิ่มป้ายให้ความรู้
ทางธรณีวิทยา แผ่นพับ และป้ายแสดงแผนผังภายในถ้ำ ลักษณะการเกิดของถ้ำ รวมถึงการเกิด
ประติมากรรมถ้ำ เช่น ม่านหินย้อย เสาหิน หินงอก หินย้อย และทำนบหินปูน เป็นต้น เศษกระดูกและเศษ
ฟันของสัตว์โบราณหลายชนิด เช่น ฟันสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และสัตว์กีบ (ฟันกวาง?, เศษฟันของวงศ์
วัว-ควาย) บ่งสภาพแวดล้อมโบราณบริเวณรอบถ้ำ ควรเพิ่มไฟส่องสว่างบริเวณทางเดิน ควรเพิ่มไฟที่ส่อง
สว่างหินงอกหินย้อยในตำแหน่งที่เหมาะสมและกลมกลืนกับธรรมชาติจะทำให้ประติมากรรมภายในถ้ำ
งดงามมากยิ่งขึ้น ควรเลือกหลอดไฟที่ไม่ร้อนหรือให้ความร้อนน้อย เช่น เป็นหลอด LED ที่อุณหภูมิของ
หลอดไฟไม่สูงภายในถ้ำอากาศไม่ค่อยถ่ายเท อีกทั้งมีค้างคาวอาศัยอยู่จำนวนมาก ทำให้ภายในถ้ำมีกลิ่น
ฉุนระดับปานกลาง
3.2.2 แผนผังถ้ำน้ำทะลุ (Num Ta Lu cave)
ข้อมูลทั่วไป : ถ้ำน้ำทะลุตั้งอยู่ในเขื่อนรัชชประภา หรือเขื่อนเชี่ยวหลาน เขตพื้นที่อุทยาน
แห่งชาติเขาสก ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พิกัดที่ 455308 ตะวันออก 993519
เหนือ เดินทางโดยรถยนต์จากอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี มุ่งไปทางอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 (สุราษฎร์ธานี-ตะกั่วป่า) และใช้เส้นทางแยกเข้าสู่หน่วยพิทักษ์
อุทยานแห่งชาติที่ ขส.2 (แก่งเชี่ยวหลาน) ระหว่างกิโลเมตรที่ 57-58 และเดินทางต่อไปอีกประมาณ
12 กิโลเมตร ระยะทางจากสุราษฎร์ธานีถึงเขื่อนรัชชประภาประมาณ 80 กิโลเมตร และเดินทางต่อด้วย
เรือหางยาวจากท่าเรือเขื่อนรัชชประภาไปยังถ้ำน้ำทะลุ ประมาณ 15 นาที แล้วเดินเท้าต่อประมาณ
2 กิโลเมตร ถึงจุดหมายปากถ้ำน้ำทะลุ
ลักษณะเด่น : เป็นถ้ำที่เกิดจากการละลาย สายน้ำไหลทะลุผ่านถ้ำ โดยไหลผ่านเข้าจาก
ปากถ้ำด้านหนึ่งและไหลออกปากถ้ำอีกด้าน ไหลจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้
จากการสำรวจโถงถ้ำหลัก 1 โถง โถงย่อย 1 โถง ภายในพบประติมากรรมถ้ำ เช่น หินน้ำไหล หินงอก
หินย้อย ม่านหินย้อย ไข่มุกถ้ำ และทำนบหินปูน เป็นต้น (รูปที่ 3.6) การสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำเทียบ
ได้กับระดับ 4 (grade 4) ตามมาตรฐานการสำรวจของสมาคมวิจัยถ้ำของประเทศอังกฤษ (British Cave
Research Association: BCRA) คณะสำรวจได้กำหนดให้อยู่ระหว่าง ชั้น C (class C) ความยาวโถงหลัก
854.602 เมตร ความยาวโถงย่อย 13.725 เมตร ความยาวถ้ำรวม 868.327 เมตร (รูปที่ 3.7)
ลักษณะธรณีวิทยา : ลักษณะภูมิประเทศแบบคาสต์และถ้ำ แนวของเทือกเขาหินปูนมี
ยอดตะปุ่มตะป่ำและยอดแหลมสูงๆ ต่ำๆ ไม่สม่ำเสมอกัน และบริเวณรอบๆ ถ้ำน้ำทะลุยังพบคาสต์
รูปกรวยและคาสต์รูปหอคอย บริเวณนี้จัดอยู่ในกลุ่มหินราชบุรี ประกอบด้วย หินปูน หินปูนเนื้อโดโลไมต์
สีเทาปานกลางถึงเทา ชั้นหนาถึงไม่แสดงชั้น เนื้อหินปูนขนาดละเอียดมีซากดึกดำบรรพ์ปนอยู่น้อยกว่า
ร้อยละ 10 มีก้อนเชิร์ตลักษณะเป็นเลนส์วางตัวตามแนวการวางตัวของชั้นหิน พบซากดึกดำบรรพ์พวก