Page 30 - รายงานสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำ เขตอุทยานแห่งชาติภาคใต้
P. 30

22




               3.2 แผนผังโถงถ้ำ 2 มิติ

               3.2.1 แผนผังถ้ำประกายเพชร (Pra Kie Phet cave)


                              ข้อมูลทั่วไป : ถ้ำประกายเพชรตั้งอยู่ในเขื่อนรัชชประภา หรือเขื่อนเชี่ยวหลาน เขตพนที่
                                                                                                   ื้
               อุทยานแห่งชาติเขาสก ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พิกัดที่ 467506 ตะวันออก
               991264 เหนือ เดินทางโดยรถยนต์จากอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี มุ่งไปทางอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
               ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 (สุราษฎร์ธานี-ตะกั่วป่า) และใช้เส้นทางแยกเข้าสู่หน่วยพิทักษ์

               อุทยานแห่งชาติที่ ขส.2 (แก่งเชี่ยวหลาน) ระหว่างกิโลเมตรที่ 57-58 และเดินทางต่อไปอีกประมาณ 12
               กิโลเมตร ระยะทางจากสุราษฎร์ธานีถึงเขื่อนรัชชประภาประมาณ 80 กิโลเมตร และเดินทางต่อด้วย
               เรือหางยาวจากท่าเรือท่องเที่ยวเทศบาลบ้านเชี่ยวหลานไปยังถ้ำประกายเพชร ประมาณ 30 นาที

                              ลักษณะเด่น : เป็นถ้ำที่เกิดจากการละลาย (Solution cave) โถงถ้ำหลัก 1 โถง
               และมีโถงถ้ำย่อย 3 โถง ภายในพบประติมากรรมถ้ำ เช่น หินงอก หินย้อย เสาหิน ม่านหินย้อย ไข่มุกถ้ำ

               และทำนบหินปูน เป็นต้น (รูปที่ 3.3) โถงถ้ำขนาดใหญ่บริเวณ A9 จะพบกลุ่มเสาหิน หินน้ำไหล หินงอก
               หินย้อย หินน้ำไหล และทำนบหินปูน เมื่อกระทบกับแสงจะเกิดประกายแวววาวราวกับประกายของเพชร
                                                                                                     ั
               จึงเรียกว่า “ถ้ำประกายเพชร” นอกจากนี้ในตะกอนอุดตันในถ้ำ (cave fill) ยังพบเศษกระดูกและเศษฟน
               ของสัตว์โบราณหลายชนิด เช่น ฟันสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และสัตว์กีบ (ฟันกวาง?, เศษฟันของวงศ์
               วัว-ควาย) เป็นต้น การสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำเทียบได้กับระดับ 4 (grade 4) ตามมาตรฐานการสำรวจ
               ของสมาคมวิจัยถ้ำของประเทศอังกฤษ (British Cave Research Association: BCRA) คณะสำรวจได้
               กำหนดให้อยู่ระหว่าง ชั้น C (class C) ความยาวโถงหลัก 96.582 เมตร ความยาวโถงย่อย 51.196 เมตร

               ความยาวถ้ำรวม 147.778 เมตร (รูปที่ 3.4)

                              ลักษณะธรณีวิทยา : ภูมิประเทศแบบกำแพงหินปูน ปรากฏให้เห็นชัดเจนบนภาพถ่าย
               ทางอากาศและภาพจากดาวเทียม แสดงลักษณะหน้าผาสูงชันขนาดใหญ่ แนวของเทือกเขาหินปูนมียอด
               ตะปุ่มตะป่ำและยอดแหลมสูงๆ ต่ำๆ ไม่สม่ำเสมอกัน มีแนวการวางตัวในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-
               ตะวันตกเฉียงใต้ (เกือบเหนือ-ใต้) และบริเวณรอบๆ ถ้ำประกายเพชรยังพบคาสต์รูปกรวยและคาสต์รูป

               หอคอย แนวรอยเลื่อนที่พบบริเวณนี้ (dip angle/dip direction) 75/020, 70/063, 86/003, 48/106,
               47/198 และ 80/297 ประกอบด้วย หินปูน หินปูนเนื้อโดโลไมต์ สีเทาปานกลางถึงเทา ชั้นหนาถึงไม่แสดง
               ชั้น เนื้อหินปูนขนาดละเอียดมีซากดึกดำบรรพ์ปนอยู่น้อยกว่าร้อยละ 10 เรียกว่า Mudstone (Dunham,
               1962) มีก้อนเชิร์ตลักษณะเป็นเลนส์วางตัวตามแนวการวางตัวของชั้นหิน พบซากดึกดำบรรพ์พวกแบรคิโอพอด

               และแกสโตพอด มีอายุอยู่ในยุคเพอร์เมียน หรือประมาณ 299-252 ล้านปีมาแล้ว

                              การเกิดถ้ำประกายเพชร : เป็นถ้ำที่เกิดจากการละลายของหินปูน ในอดีตยุคเพอร์เมียน
               เมื่อประมาณ 299 – 252 ล้านปีก่อน บริเวณถ้ำเคยเป็นทะเลมาก่อนมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในทะเลเป็น
               จำนวนมาก เช่น ปะการัง ไครนอยด์ หอยฝาเดียว และหอยสองฝา เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านไปตะกอน

               คาร์บอเนตที่สะสมอยู่ในทะเลผ่านกระบวนทางธรณีวิทยาแข็งตัวกลายเป็นหินปูน พร้อมทั้งสิ่งมีชีวิตที่เคย
               อาศัยอยู่ในทะเลก็กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลกทำให้ชั้นหินถูก
               ยกตัวขึ้นกลายเป็นภูเขาหินปูน พบโครงสร้างธรณีวิทยา เช่น ชั้นหินคดโค้ง รอยแตก และรอยเลื่อนภายในชั้น
               หินจำนวนมาก เป็นต้น หลังจากนั้นน้ำฝนที่รวมตัวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ มีฤทธิ์เป็นกรด
               อ่อน ไหลซึมเข้าไปตามรอยแตกและรอยเลื่อน ทำให้รอยแตกและรอยเลื่อนขยายขนาดใหญ่ขึ้นจน

               กลายเป็นโพรง ในที่สุดกลายเป็นโถงถ้ำขนาดใหญ่ขึ้น โดยในช่วงแรกโถงถ้ำจะมีน้ำอยู่เต็มโถง เมื่อเวลาผ่าน
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35