Page 268 - วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ปีที่ 13 ฉบับที่ 1
P. 268
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 263
สามารถสัมผัส จับต้องสื่อได้ จะช่วยให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อได้ดีและครอบคลุม
ทุกด้านสามารถเห็นความสัมพันธ์ในหลายมุมมองและหลากหลายช่วยในการตั้ง
ค าถามที่แตกต่างและหลากหลาย
อภิปรายผล ผู้วิจัยมีประเด็นการอภิปรายผล ดังนี้
1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาปลายเปิดตามกรอบแนวคิดการคิดอเนกนัย
ของ Haylock (1997) เป็นการให้นักเรียนได้เรียนรู้จากปัญหาปลายเปิดในการจัดกลุ่มใหม่
การตั้งค าถามและการแก้ปัญหาที่หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนคณิตศาสตร์
ในแนวทางที่ตอบสนองความสามารถระดับการคิดและการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งวิธีการ
จัดการเรียนรู้แบบนี้ช่วยเพิ่มคุณภาพของกระบวนการการเรียนรู้ของนักเรียนได้คิด
อย่างหลากหลาย ดังนั้นครูผู้สอนจะต้องคาดการณ์แนวคิดของนักเรียนและพยายามท า
ความเข้าใจแนวคิดของนักเรียนให้มากที่สุด แล้วจะต้องท าให้แนวคิดทาง
คณิตศาสตร์ของนักเรียนขึ ้นไปอยู่ในระดับที่สูงขึ ้นโดยเปิดโอกาสให้นักเรียน
แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักเรียนคนอื่นๆ หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครู รวมทั้ง
ครูผู้สอนจะต้องสนับสนุนให้นักเรียนจัดการกระบวนการคิดเพื่อขยายและต่อยอดไปสู่
องค์ความรู้ใหม่ที่สูงขึ้น โดยมุ่งเน้นที่จะเปิดใจเปิดแนวคิดที่มีต่อการเรียนคณิตศาสตร์
มากกว่าการสอนเนื้อหาให้ครบซึ่งสอดคล้องกับ Haddon and Lytton (1960 : 171 -
180) ได้ท าการศึกษาเกี่ยวกับการสอนและการพัฒนาความสามารถในการคิดอเนกนัย
กับเด็กระดับชั้นประถมศึกษา อายุ 11 – 12 ปี จากโรงเรียนที่มีการสอนแบบยึด
เนื้อหาวิชาเป็นศูนย์กลาง และโรงเรียนที่มีการสอนแบบยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางผล
ปรากฏว่าเด็กที่มาจากโรงเรียนที่มีการสอนแบบยึด เนื้อหาวิชาเป็นศูนย์กลางมี
ความสามารถในการคิดอเนกนัยต ่ากว่าเด็กที่มาจากโรงเรียนที่มีการสอนแบบยึด
นักเรียนเป็นศูนย์กลาง และยังสอดคล้องกับแนวคิดของ ณัฐฐากร ถนอมตน (2536)
ได้ศึกษาผลของการใช้ปัญหาปลายเปิดแบบเร้าที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของ
นักเรียนอนุบาล ชั้นนักเรียนเล็กของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่าการ
พัฒนาทางความคิดสร้างสรรค์ด้านความคิดริเริ่มความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น
ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560