Page 357 - วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ปีที่ 13 ฉบับที่ 1
P. 357
352 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
โดยทั่วไปท าได้เพียงตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ และที่ส าคัญการติดตาม
ประเมินผลได้ได้ส่งผลต่อการปรับปรุงแก้ไข
2. ปัญหา อุปสรรค ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ การมีส่วนร่วมของ
ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่นท้องถิ่นจังหวัด
ภูเก็ต
2.1 ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลในการบริหาร
จัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต พบว่า 1) การประชาสัมพันธ์เข้าไม่ถึง
กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนขาดความเชื่อมั่น และไม่ให้ความส าคัญกับกิจกรรม
ของท้องถิ่น 2) การจัดกิจกรรมไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน และเมื่อจัดขึ้น
มาแล้วผู้บริหารท้องถิ่นมักใช้โอกาสชี้น าประชาชนให้คล้อยตามมากกว่าให้ประชาชน
ร่วมคิด 3) ประชาชนขาดองค์ความรู้ ไม่ทราบบทบาทของตนที่มีต่อท้องถิ่น ไม่รู้ช่องทาง
ในการเข้าไปมัส่วนร่วม 4) ขาดดารบูรณาการระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งผล
ให้แก้ปัญหาในภาพรวมได้ไม่ดีเท่าที่ควร ประกอบกับองค์กรขนาดเล็กงบประมาณ
ด าเนินการไม่เพียงพอ และ 5) ด้วยกระแสการซื้อเสียงของนักการเมือง ประชาชน
มีทัศนคติทางลบกับการเมืองหลังจากการเลือกตั้งแต่ละครั้งประชาชนมีการแบ่งพวก
แบ่งฝ่ายเกิดความขัดแย้งในท้องถิ่นขึ้น
2.2 อุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลในการบริหาร
จัดการองค์กรปกครองส่สนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต พบว่า 1) นักการเมืองสืบทอดอ านาจ
ต่อเนื่องเป็นเวลานานท าให้เกิดกลุ่มผลประโยชน์ใช้อิทธิพลในองค์กร การบริการ
สาธารณะจึงกระจุกอยู่กับพวกพ้อง 2) มีการปกปิดข้อมูลข่าวสารเพื่อไม่ให้ประชาชน
รับรู้ การบริหารงานโครงการไม่เป็นไม่ตามเป้าหมาย ประชาชนขาดโอกาสในการรับบริการ
สาธารณะที่พึงจะได้ 3) การปฏิบัติงานยังคงเป็นไปตามรายแผนงาน โครงการเน้น
แผนการจ่ายเงินให้เป็นไปตามงวดเงินมากกว่าการบูรณาการเพื่อให้ได้งานและ
ประหยัดงบประมาณ 4) สภาพของจังหวัดภูเก็ตเป็นสังคมเมืองเต็มพื้นที่ วิถีชีวิต
คนเมืองต่างคนต่างอยู่ ขาดการเอื้ออาทรกัน ขณะเดียวกันด้วยบริบทที่เป็น
เมืองท่องเที่ยว มีประชากรแฝงอาศัยอยู่จ านวนมากส่งผลให้การเก็บข้อมูลน าไป
ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560