Page 361 - วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ปีที่ 13 ฉบับที่ 1
P. 361
356 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
การวางแผน การตัดสินใจ การระดมทรัพยากรและเทคโนโลยีในท้องถิ่น ร่วมบริหาร
จัดการ ร่วมติดตามประเมินผลรวมถึงร่วมรับประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการด าเนินโครงการ
2) การมีส่วนร่วมทางการเมืองคือการส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพ และการรวมพลังอ านาจ
ของพลเมืองโดยประชาชน หรือชุมชนรวมพลังพัฒนาขีดความสามารถเพื่อปกป้องและ
รักษาผลประโยชน์ของชุมชน ซึงสภาพความเป็นจริงการมีส่วนร่วมของประชาชน
ตามหลักธรรมภิบาลในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ต
ในแต่ละด้าน ประชาชนมีส่วนร่วมมีน้อยมาก ซึ่งสอดคล้องกับ สุเทพ เชาวลิต (2552 : 4-6)
ที่ได้น าเสนอไว้ว่า “การบริหารจัดการภาครัฐจากอดีตที่ผ่านมา มีปัญหาในการบริหาร
จัดการที่ดี ขาดการน าหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีหรือหลักธรรมาภิบาลมาใช้
ในการบริหาร” ซึง่ตัวชีวัดได้แก่ 1) การบริหารแบบไม่มีส่วนร่วม การบริหารจัดการ
ภาครัฐเท่าที่ผ่านมายังเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานมีส่วนร่วมน้อยมาก ความคิดทางการบริหาร
จัดการมักมักอยู่ในกลุ่มของผู้บริหารหรือเฉพาะตัวผู้บริหารเองในการตัดสินใจ
เรื่องต่างๆ จนน าไปสู่สภาวะผู้น าแบบอัตตาธิปไตย เป็นเผด็จการทางความคิด
ไม่ค่อยยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงานโดยเฉพาะผู้ร่วมงานในระดับปฏิบัติการ
2) การทุจริต ประพฤติมิชอบในวงราชการเป็ฯปัญหาใหญ่ของการบริหารจัดการภาครัฐ
การแสวงหาผลประโยชน์จากต าแหน่งหน้าที่ การวิ่งเต้น การกระท าผิดกฎ ผิดระเบียบ
การขาดการควบคุมที่ดี การบังคับใช้กฎหมายหย่อยประสิทธิภาพ น าไปสู่การสมยอม
กันของผู้แสวงหาผลประโยชน์ 3) ความไม่โปร่งใสทางการบริหารทางการบริหารจัดการ
การขาดระบบการตรวจสอบ ควบคุม ประเมินผล การติดตามผลที่ดีมีประสิธิภาพ ส่งผล
ให้เกิดความไม่โปร่งใสทางการบริหารและความไม่โปร่งใสเป็นตัวน าไปสู่การประพฤติ
มิชอบในวงราชการเกิดขึ้น
ข้อเสนอแนะ
จากการวิจัยเรื่องรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล
ในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้
ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560