Page 358 - วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ปีที่ 13 ฉบับที่ 1
P. 358
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 353
วางแผนพัฒนาผิดพลาดไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และ 5) ความหลากหลาย
ในการประกอบกอบอาชีพของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต ท าให้ประชาชนจ านวนหลาย
กลุ่มหลายอาชีพไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับท้องถิ่นได้
2.3 ความคิดเห็นของการมีส่วนร่วมของประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล
ในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต พบว่า 1) ประชาชนไม่
ค่อยมีโอกาสในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนากลุ่มการเมืองท้องถิ่น ในการรวมกลุ่ม
ทางการเมืองควรเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย 2) ควร
ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นให้มากขึ้น 3) ในการจัดท าแผนพัฒนาจังหวัดภูเก็ต ควรเปิดโอกาสให้ผู้น า
ท้องถิ่นทั้ง 19 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมประชุมเพื่องแสดงความคิดเห็นด้วย
4) ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ตควรมีวิสัยทัศน์ที่เป็นนัก
ประชาธิปไตยที่แท้จริง 5) ควรมีการปรับแนวคิดใหม่ๆ ที่จะใช้บุคคลหรือภูมิปัญญา
ท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด 6) การบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัด
ภูเก็ต ควรเป็นการบริหารแบบแนวราบ 7) บริการสาธารณะทุกอย่างในจังหวัดภูเก็ตควร
ผ่านกระบวนการประชาพิจารณ์และได้รับความเห็นชอบจากประชาชนส่วนใหญ่ และ
8) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องท าหน้าที่ในฐานะหน่วยบริการสาธารณะอย่าง
แท้จริง
2.4 ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลในการ
บริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต พบว่า ควรมีการด าเนินการดังนี้
1) คิดหาแนวทางให้ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นหลากหลายช่องทาง ให้เขาเข้ามา
มีส่วนร่วมในหลายๆ มิติ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ 2) ควรมีการจัดตั้งองค์กร
ประชาชนขึ้นในทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนได้เข้าใจ และ
เข้าถึงบทบาทของตนที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับท้องถิ่นในเรื่องต่างๆ 4) ผู้บริหารนาชอก
จากต้องใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนให้มากขึ้นแล้วยังจะต้องท า
ความเข้าใจวัฒนธรรมชุมชนอย่างถ่องแท้ด้วย โดยเฉพาะความต้องการที่แตกต่างของ
แต่ละชุมชนจะต้องได้รับการดูแลอย่างเสมอภาค 5) ควรเพิ่มความเข้มข้นในการจัด
ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560