Page 82 - วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ปีที่ 13 ฉบับที่ 1
P. 82
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 77
6. ส าหรับผลการวิเคราะห์ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการจะแบ่งออกได้
เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ต้นทุนในสินทรัพย์ถาวรของโครงการ (เงินลงทุนเริ่มแรก)
ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนในการผลิต และต้นทุนในการด าเนินงานโดยคิดราคารับซื้อ
วัตถุดิบเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ. 2552-2556) นั่นคือ 86.21 บาทต่อกิโลกรัม
ผลการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ โดยใช้เกณฑ์การตัดสินใจ
แบบปรับค่าของเวลา และประเมินมูลค่าโครงการทางเศรษฐกิจโดยใช้ราคาเงา
(Shadow Price) ด้วยดัชนีชี้วัดความคุ้มค่าในการลงทุนได้แก่ การหามูลค่าปัจจุบันสุทธิ
(Net Present Value : NPV) อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (Benefit–Cost Ratio :
BCR)อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (Internal Rate of Return : IRR)และ
ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) ผลที่ได้พบว่า โครงการจัดตั้งโรงงานแปรรูปยาง
แท่งให้ความคุ้มค่าในการลงทุน โดยได้ค่า NPV เท่ากับ 3,332,769,371 บาท ค่า BCR
เท่ากับ 1.08 ค่า IRR เท่ากับ 80% และมีระยะเวลาคืนทุนภายใน 2 ปี (ตารางที่ 3) และ
รายละเอียดข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ แสดงด้วยตาราง ที่ 4 – 6
อย่างไรก็ตามเนื่องจากผลการวิจัยที่น าเสนอข้างต้น เป็นผลจากการใช้ข้อมูล
ราคายางก้อนถ้วยและราคาผลผลิตยางแท่งในช่วงเวลาที่ราคายางยังค่อนข้างสูง
เพื่อให้เห็นภาพความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ในการลงทุนจัดตั้งโรงงานผลิตยางแท่ง
ของเกษตรกรที่สอดคล้องกับภาวะราคาของยางในปัจจุบัน ซึ่งมีแนวโน้มลดลงอย่าง
ต่อเนื่อง ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์เพิ่มเติม โดยใช้
ราคาเฉลี่ยของยางก้อนถ้วนซึ่งเป็นวัตถุดิบ และราคาผลผลิตยางแท่งระหว่างปี 2557 –
2559 (ปี 2559 ใช้ข้อมูลครึ่งปีแรก) ราคาวัตถุดิบเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42 บาท และราคา
ยางแท่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.50 บาท ใช้อัตราคิดลดร้อยละ 12 ซึ่งเป็นอัตราที่นิยมและ
เลือกใช้กันโดยทั่วไปของประเทศที่ก าลังพัฒนา (อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่างร้อยละ 8 –
15) ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่า โครงการจัดตั้งโรงงานแปรรูปยางแท่งให้ความคุ้มค่าใน
การลงทุนโดยได้ค่า NPV เท่ากับ 2,432,546,182 บาท ค่า BCR เท่ากับ 1.13 ค่า IRR
เท่ากับ 47% และมีระยะเวลาคืนทุนภายใน 3 ปี
ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560