Page 78 - วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ปีที่ 13 ฉบับที่ 1
P. 78
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 73
ข้อสมมติในการวิเคราะห์ต้นทุนของโครงการ
1. ก าหนดให้ขนาดของที่ดินที่ใช้ในโครงการนี้เท่ากับ 35 ไร่ และจาก
การสอบถามราคาที่ดินในอ าเภอท่าฉางจากเกษตรกร พบว่า ที่ดินว่างเปล่า (ถมดิน
แล้ว) ในอ าเภอท่าฉางมีราคาซื้อขายอยู่ที่ไร่ละ 300,000 บาท
2. สมมติให้การจัดตั้งโรงงานผลิตยางแท่ง เกิดจากการรวมกลุ่มของเกษตรกร
ชาวสวนยางในอ าเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในรูปแบบวิสาหกิจชุมชนหรือ
สหกรณ์
3. แหล่งที่มาของเงินทุน มาจาก 2 แหล่ง ได้แก่
3.1 การระดมทุนจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรชาวสวนยางใน
อ าเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จ านวน 1 ล้านบาท
3.2 การกู้ยืมสถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและ
สหกรณ์การเกษตร (ธกส.) โดยธนาคารได้ให้สินเชื่อแก่ผู้ที่สนใจลงทุน ซึ่งเป็นลูกค้า
สถาบัน (สหกรณ์ กลุ่มเกษตร กลุ่มบุคคล กองทุนหมู่บ้านหรือชุมชน และองค์กร) โดย
คิดอัตราดอกเบี้ยกลุ่มลูกค้าที่เป็นสถาบันชั้นดี (Minimum Loan Rate : MLR) ร้อยละ 5
ต่อปี และมีส่วนต่างสูงสุดที่จะใช้บวกกับ MLR (Highest Cap Over MLR) เท่ากับร้อย
ละ 2 ต่อปี ดังนั้นในที่นี้จะใช้อัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 7 ต่อปี
4. โดยจะแบ่งการกู้ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
4.1 เงินลงทุนเริ่มแรก เป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อที่ดินและลงทุนใน
สินทรัพย์ถาวรของโครงการ จ านวน 134 ล้านบาท เป็นการกู้ระยะยาว เป็นเวลา 20 ปี
คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี ตลอดอายุโครงการ โดยเริ่มช าระคืนเงินต้นพร้อม
ดอกเบี้ยงวดที่ 1 ในเดือนมกราคม 2558
4.2 เงินทุนหมุนเวียนในการซื้อวัตถุดิบ หรือ O/D จ านวน 100 ล้าน
บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี โดยต้องช าระดอกเบี้ยทุกเดือน
ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560