Page 80 - วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ปีที่ 13 ฉบับที่ 1
P. 80

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  75


             ต้นไม้ที่จะช่วยปรับสภาพอากาศ ลดกลิ่นที่เกิดจากการผลิตยางแท่ง ผลผลิตยางแท่งที่
             ผลิตโดยโรงงานในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นชนิด STR 20ซึ่งผลิตตามค าสั่งซื้อของลูกค้า
             ที่ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าในต่างประเทศ ต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่เป็นค่าวัตถุดิบ มีต้นทุน

             ผันแปรเป็นค่าไฟฟ้าและพลังงานเชื้อเพลิงประมาณร้อยละ 20 ค่าจ้างแรงงานและค่า
             ซ่อมบ ารุงร้อยละ 15 ของต้นทุนผันแปรทั้งหมด ส่วนผลตอบแทนขึ้นอยู่กับยอดการ

             สั่งซื้อและราคายางแท่งในเวลาที่ซื้อขายกัน
                     3. ส าหรับโรงงานผลิตยางแท่งของสหกรณ์ในจังหวัดชลบุรี ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.
             2554  ด้วยความร่วมมือของสมาชิกกองทุนสวนยางเขาซก และการกู้ยืมเงินจากกรม

             ส่งเสริมสหกรณ์และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร วัตถุดิบที่ใช้ในการ
             ผลิตคือ ยางก้อนถ้วยเท่านั้น ผลผลิตเป็นยางแท่งชนิด STR  20 รับซื้อวัตถุดิบจาก

             สมาชิกของสหกรณ์และบุคคลทั่วไป ซึ่งปัจจุบันมีจ านวนสมาชิก 570 ราย ราคารับซื้อ
             วัตถุดิบอิงกับตลาดสิงคโปร์และญี่ปุ่น ระยะเวลาการผลิตวันละ 1 กะ สถานที่ตั้งโรงงาน

             เป็นที่ดินซึ่งกรรมการสหกรณ์มอบให้โดยมีเนื้อที่รวม 35 ไร่ การคมนาคมขนส่งสะดวก
             ทั้งสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปาเพียงพอ มีล าคลองอยู่หลังโรงงานที่สามารถน าน ้ามา

             ใช้ในการผลิตได้ มีบ่อบ าบัดน ้าเสีย 5 บ่อ และบ่อกักเก็บน ้าไว้ใช้ในการผลิต 3  บ่อ
             แรงงานที่โรงงานจัดจ้างเป็นคนในพื้นที่และแรงงานต่างด้าวอีกบางส่วน ผลผลิตยาง
             แท่ง (ร้อยละ 80)  จ าหน่ายในประเทศให้กับอุตสาหกรรมผลิตยางล้อรถยนต์ ส่วนที่

             ส่งออกไปตลาดต่างประเทศจะผ่าน  โบรกเกอร์ในอ าเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
             ต้นทุนการผลิตยางแท่งเป็นค่าวัตถุดิบเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นก็จะเป็นต้นทุนค่า

             ไฟฟ้าและเชื้อเพลิง ร้อยละ 20  ค่าซ่อมบ ารุงเครื่องจักร/อุปกรณ์ ร้อยละ 15 และค่าจ้าง
             แรงงาน ร้อยละ 15 ของต้นทุนผันแปร ส่วนผลตอบแทนขึ้นอยู่กับยอดการสั่งซื้อ และ
             ราคาจ าหน่ายผลผลิตยางแท่งในเวลานั้น

                     4. เมื่อน าผลการศึกษาจากโรงงานผลิตยางแท่งมาวิเคราะห์ เพื่อสรุปเลือก
             สถานที่ตั้งโรงงานผลิตยางแท่งของเกษตรกรชาวสวนยางพาราในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

             โดยได้เลือกอ าเภอที่มีปริมาณการผลิตยางก้อนถ้วน เศษยางหรือขี้ยางมากที่สุด 3
             อ าเภอ ได้แก่ อ าเภอพระแสง อ าเภอกาญจนดิษฐ์ และอ าเภอท่าฉาง เพื่อพิจารณา



                                 ปีที่ 13 ฉบับที่ 1  มกราคม – มิถุนายน  2560
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85