Page 19 - E-Book รายงานสรุปผลการประชุม
P. 19

รายงานสรุปผล การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำาเสนอความก้าวหน้าด้านการคุ้มครองทางสังคมการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติ
                                       และกลยุทธ์ที่ดี เพื่อผลักดันให้มีการจัดสรรทรัพยากรด้านการเงินภายในประเทศด้านการคุ้มครองทางสังคมเพิ่มมากขึ้น


                 ๒.๔ ผลการระดมความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติและกลยุทธ์ที่ดี
                      และจัดทำาแผนในการผลักดันให้มีการจัดสรรทรัพยากรด้านการเงิน

                      ภายในประเทศ ด้านการคุ้มครองทางสังคม


                         การระดมความเห็นฯ ในขั้นตอนนี้ กำาหนดให้ผู้เข้าร่วมประชุมมองสถานการณ์ด้านคุ้มครองทางสังคม
                 ในภาพรวม เพื่อร่วมกันกำาหนดแนวทางการทำางานในอนาคตผ่านการจัดทำาแผนฯ โดยประยุกต์ใช้

                 “ขั้นตอนการถอดบทเรียนโดยการประเมินแบบเสริมพลัง” (Empowerment Evaluation – EE)
                 สรุปผลการประชุมรายกลุ่มประเด็น ดังนี้


                                           กลุ่มที่ ๑ การคุ้มครองทางสังคมสำาหรับเด็ก


                 สมาชิกผู้เข้าร่วมถอดบทเรียน : กลุ่มการคุ้มครองทางสังคมสำาหรับเด็ก

                         ๑) ฝ่ายงบประมาณ กรมกิจการเด็กและเยาวชน

                         ๒) สำานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ


                         ๓) สำานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

                         ๔) สำานักงานสถิติแห่งชาติ

                         ๕) ศูนย์ช่วยเหลือสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

                         ๖) สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย

                 ขั้นตอนที่ ๑ กำาหนดภารกิจที่คาดหวัง : กลุ่มการคุ้มครองทางสังคมสำาหรับเด็ก

                     • วัตถุประสงค์ของภารกิจ

                         ๑) เพื่อให้เด็ก/เยาวชนทราบถึงสิทธิของตนเอง

                         ๒) เพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก/เยาวชน

                         ๓) เพื่อพัฒนาฐานข้อมูล เครือข่ายการคุ้มครองทางสังคมสำาหรับเด็ก/เยาวชนให้ครบทุกมิติ


                         ๔) เพื่อลดความเหลื่อมลำ้าในเด็ก/เยาวชน

                         ๕) เพื่อบูรณาการการทำางานของทุกหน่วยงาน เพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชน

                     • เป้าหมายของภารกิจ

                         ๑) เด็กและ เยาวชน มีการพัฒนาเป็นบุคคลที่รู้สิทธิ และหน้าที่ของตนเอง มีความกล้าคิด
                            กล้าแสดงออก และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสังคม

                         ๒) มีฐานข้อมูลกลางเกี่ยวกับภาคีเครือข่ายเด็กและเยาวชน ที่ทุกฝ่ายสามารถใช้และเข้าถึงข้อมูล

                            ร่วมกันได้ โดยมีการบูรณาการข้อมูลจากทุกภาคส่วนร่วมกัน

                         ๓) มีการบูรณาการข้อมูลระหว่างทุกหน่วยงานเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนมากขึ้น เพื่อให้ได้รับ
                            การคุ้มครองอย่างครอบคลุมและทั่วถึง ลดความเหลื่อมลำ้าในเด็ก/เยาวชน


                         ๔) ระบบการศึกษาสามารถพัฒนาเด็กและเยาวชน ให้มีคุณภาพชีวิตและศักยภาพพร้อมในศตวรรษที่ ๒๑
                            โดยเด็กและเยาวชนเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ ไม่ตกหล่นจากระบบการศึกษา
                                                                                                            17
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24