Page 10 - Chapter 5
P. 10
7
จากข้อมูลปฏิกิริยา พบว่า
1. ปริมาตรของแก๊สที่ท าปฏิกิริยาพอดีกันและที่ได้จากปฏิกิริยา เปรียบเทียบกันได้เป็นเลขลง
ตัวน้อยๆ ตามกฎของเกย์-ลูสแซก
2. ในแต่ละปฏิกิริยา แก๊สจะท าปฏิกิริยากันด้วยอัตราส่วนโดยปริมาตรคงที่ เช่น ปริมาตรของ
H2 : Cl2 : HCl = 1 : 1 : 2 เสมอ ถ้าใช้ H2 10 ลิตร จะต้องใช้ Cl2 10 ลิตร และจะได้ HCl 20 ลิตร
3. ปริมาตรรวมของแก๊ส ก่อนท าปฏิกิริยา และปริมาตรรวมของแก๊สที่ได้ จากปฏิกิริยาจะ
เท่ากัน หรือไม่เท่ากันก็ได้
เช่น
H 2(g) 10 ลิตร + Cl 2(g) 10 ลิตร HCl(g) 20 ลิตร
ปริมาตรรวมก่อนและหลังเกิดปฏิกิริยาเป็น 20 ลิตร เท่ากัน
แต่ 2H 2 (g) 20 ลิตร + O 2(g) 10 ลิตร 2H 2O(g) 20 ลิตร
ปริมาตรรวมก่อนและหลังเกิดปฏิกิริยาไม่เท่ากัน
กฎอาโวกาโดร (Avogadro’s law)
ในปี ค.ศ. 1811 (พ.ศ.2354) อาเมเดโอ อาโวกาโดร (Amaedeo Avogadro) นักฟิสิกส์ชาว
อิตาลีได้ศึกษากฎของเกย์-ลูสแซกและอธิบายว่าการที่อัตราส่วนโดยปริมาตรของแก๊สที่เข้าท าปฎิกิริยา
และที่ได้จากปฏิกิริยาเป็นเลขจ านวนเต็มน้อยๆ คงเป็นเพราะปริมาตรของแก๊สมีความสัมพันธ์กับจ านวน
อนุภาคที่รวมตัวกันเป็นสารประกอบ อาโวกาโดร จึงเสนอสมมติฐานว่า “ที่อุณหภูมิและความดัน
เดียวกัน แก๊สทุกชนิดที่มีปริมาตรเท่ากันจะมีจ านวนอนุภาคเท่ากัน” ถ้าอนุภาคที่เล็กสุดของแก๊สเป็น
อะตอม แสดงการเกิดปฏิกิริยาระหว่างแก๊สไฮโดรเจนและแก๊สคลอรีน ได้ไฮโดรเจนคลอไรด์ ดังนี้
H 1 อะตอม Cl 1 อะตอม HCl 2 โมเลกุล