Page 11 - Chapter 5
P. 11

8




                             จากรูปแสดงว่าไฮโดรเจนและคลอรีนถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน ในการเกิด HCl  ซึ่งไม่สอดคล้องกับ

                   ทฤษฎีอะตอมของดอลตัน
                             สมมติฐานอาโวกาโดร ยังไม่เป็นที่ยอมรับเกือบ  50 ปี   เนื่องจากในตอนแรกสมมติฐานของ

                   อาโวกาโดรใช้ค าว่า  อนุภาค  หมายถึง อะตอม   ซึ่งท าให้ขัดแย้งกับทฤษฎีอะตอมของดอลตันที่ว่า

                   “อะตอมแบ่งแยกไม่ได้”
                             จนกระทั่ง ค.ศ.1860 (พ.ศ.2403)  สตานิสลาฟ คันนีดซาโร (Stanislav  Cannizzaro)  นัก

                   เคมีชาวอิตาลี  ได้ท าการทดลองเพิ่มเติมเกี่ยวกับปริมาตรของแก๊สที่ท าปฏิกิริยากัน และได้เสนอว่า

                   “ธาตุที่เป็นแก๊ส  จะอยู่เป็นโมเลกุลซึ่งประกอบด้วยอะตอมที่เหมือนกันเป็นจ านวนคู่น้อยที่สุด”  คือ
                   ธาตุ 1 โมเลกุล ในสถานะแก๊ส จะประกอบด้วย 2 อะตอม  จากข้อเสนอของคันนีดซาโร ท าให้สมมติฐาน

                   อาโวกาโดรเปลี่ยนไปจากเดิม  ดังนั้นอาโวกาโดรจึงเสนอให้เรียกอนุภาคของแก๊สว่าโมเลกุล  และเปลี่ยน

                   จากสมมติฐานของอาโวกาโดร มาเป็นกฎของอาโวกาโดร  ดังนี้




                       “ที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน แก๊สทุกชนิดที่มีปริมาตรเท่ากันจะมีจ านวนโมเลกุลเท่ากัน”


                          แสดงการเกิดปฏิกิริยาและจ านวนโมเลกุลที่เกิดปฏิกิริยาตามกฎอาโวกาโดร  จะอธิบายได้ดังรูป









                          H 2   1  โมเลกุล       Cl 2  1  โมเลกุล                  HCl  2   โมเลกุล



                          และถ้าใช้กฎของอาโวกาโดร อธิบายปริมาตรของแก๊สที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาตามกฎของ
                   เกย์-ลูสแซก จะอธิบายได้ดังรูป












                                 H 2(g)       +       Cl 2(g)                             2HCl(g)

                            1   ปริมาตร        :     1  ปริมาตร        :               2   ปริมาตร
                            1   โมเลกุล         :     1  โมเลกุล           :                2   โมเลกุล
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16