Page 102 - HistoryofNakornratchasima
P. 102

ปราสาทพนมวัน

                ปราสาทพนมวัน เป็นโบราณสถานในอารยธรรมขอม
            สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอุทัยทิตวรรมันที่ ๒
            จนถึงรัชกาลพระเจ้าชัยวรรมันที่ ๖ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕
                โบราณสถานแห่งนี้ พบจารึกของพระเจ้ายโศวรรมันที่ ๑
            และทับหลังในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ บริเวณโคปุระทาง
            ด้านทิศเหนือพบโครงกระดูกนอนหงายมีสิ่งของเครื่องใช้ฝังรวม
            อยู่หลายชิ้น สามารถก�าหนดอายุว่าอยู่ในราว ๒,๐๐๐-๑,๕๐๐ ปี
            มาแล้ว (พีรพงษ์ เตชะก�าธร และ G. Fouquet, ๒๕๓๘ : ๒๘)


            จารึกปราสาทพนมวัน
                จากหลักฐานจารึกปราสาทพนมวันที่พบในกลุ่มปราสาท
            ประธานเป็นจารึกที่มีอายุในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ โดย
            มีดังต่อไปนี้
                - จารึกปราสาทพนมวัน ๒ (นม.๓๓ , K. ๓๙๓) และ ๕
            (นม.๓๔ , K. ๓๙๓) เป็นจารึกโองการของพระเจ้าอุทัยทิตยวรรมัน
            ที่ ๒ พระองค์ทรงเป็นพระโอรสในพระเจ้าสูรยวรรมันที่ ๑ ที่
            ประกาศเมื่อปีมหาศักราช ๙๗๗ (ตรงกับปี พ.ศ. ๑๕๙๘) กล่าว
            เท้าความถึงพระเจ้าสูรยวรรมันที่ ๑ เสวยราชย์เมื่อมหาศักราช
            ๙๒๔ (ตรงกับปี พ.ศ. ๑๕๔๕) และพระบิดาของพระองค์ได้
            อุทิศถวายของ ณ สถานที่ต่าง ๆ ครั้นถึงรัชกาลพระเจ้าอุทัย-
            ทิตยวรรมันที่ ๒ ก็ทรงอุทิศสิ่งของต่าง ๆ เช่นกัน (G. Coedès,
            ๑๙๕๔ : ๒๙๗-๒๙๙)
                - จารึกปราสาทพนมวัน ๓ (นม.๑, K. ๓๙๑) และ ๔
            (นม.๕ , K.๓๙๑) จารึกหลักนี้เป็นโองการของพระเจ้าชัยวรรมัน
            ที่ ๖ ออกเมื่อ มหาศักราช ๑๐๐๔ (ตรงกับปี พ.ศ. ๑๖๒๕) ให้เหล่า
            พระวงศ์และขุนนางท�าพิธีกรรมบูชาศาสนสถาน จารึกหลักนี้
            ได้ออกนามปราสาทพนมวันว่า “รัตนปุระ” และประการส�าคัญ
            จารึกปราสาทพนมวัน ๓ และจารึกปราสาทพนมวัน ๕ ถือว่าเป็น
            จารึกที่มีการกล่าวถึง พระนามของพระเจ้าชัยวรรมันที่ ๖ ด้วย
            เหตุนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์เขมรโบราณตั้งสันนิษฐาน
            ว่าพระเจ้าชัยวรรมันที่ ๖ ปฐมวงศ์ราชวงศ์มหิธรปุระถือก�าเนิดขึ้น
            ในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย



        100 รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107