Page 104 - HistoryofNakornratchasima
P. 104
จารึกปราสาทพนมวัน ๑ พุทธศักราช ๑๕๔๔
ภาษาเขมร อักษรขอมโบราณ
พบที่ปราสาทพนมวัน อ�าเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
กล่าวถึงพระราชโองการของพระเจ้ายโศวรรมันที่ ๑
แห่งราชอาณาจักรเขมร
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
สภาพปัจจุบันปราสาทพนมวันได้ถูกบูรณะซึ่่อมแซึ่มให้สมบูรณ์ ลักษณะแผนผัง
ปราสาท ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปราสาทประธานมีแผนผังเป็นทรงจัตุรมุข
มุขทั้งสี่ด้านจะมีการเจาะช่องหน้าต่างที่ผนัง เฉพาะมุขทางทิศตะวันออกเชื่อมต่อกับ
มณฑปโดยมีห้องเล็ก ๆ คั่นกลางที่เรียกว่า อันตราละ ปราสาทพนมวันไม่มีอาคารที่
เรียกว่า บรรณาลัย เป็นรูปแบบที่สร้างต่างจากผังปราสาทในสมัยเมืองพระนคร ทั้งนี้
อาจเพราะต�าแหน่งที่เป็นที่ตั้งของบรรณาลัยนั้น ในสมัยที่ก่อสร้างปราสาทประธาน
ยังมีปราสาทอิฐในยุคต้นของสมัยเมืองพระนครปรากฏอยู่
ภายในบริเวณลานชั้นในที่มุมทิศตะวันตกเฉียงใต้จะมีปราสาทบริวารอีกหลัง
จากหลักฐานพบว่าในช่วงเมื่อ ๑๐๐ ปีที่แล้ว ปราสาทบริวารองค์นี้เคยเป็นที่
ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ปราสาทประธานและปราสาทบริวารทั้งปวงจะถูก
วงล้อมรอบระเบียงที่กึ่งกลางระเบียงคด มีซึุ่้มประตูทางเข้าที่เราเรียกว่า โคปุระ
โคปุระ ใช้เรียกซึุ่้มประตู โดยเฉพาะที่เป็นประตูทางเข้าไปยังลานปราสาท ลักษณะ
เป็นหอสูงขึ้นไปมีหลังคาชั้นซึ่้อนรูปแบบต่าง ๆ โคปุระอาจมีหลายซึุ่้มตั้งอยู่หลายทิศทาง
และหลายชั้นตามแนวก�าแพงล้อมรอบปราสาท (ภภพพล จันทร์วัฒนกุล, ๒๕๖๐ : ๔๖)
ร่องรอยเกี่ยวกับการก่อสร้างของปราสาทประธานนี้ พบว่าทับหลังของปราสาท
ประธานบางชิ้นแกะสลักเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ชิ้นที่สมบูรณ์แสดงให้เห็นถึงการแกะสลัก
ศิลปะแบบบาปวน
เดิมสภาพของปราสาทประธานก่อนการบูรณะนั้นช�ารุดมาก จึงไม่ปรากฏหลักฐาน
เกี่ยวกับชั้นประดับหลังคาว่าจะใช้ปราสาทจ�าลอง หรือ นาคปัก ท�าให้ไม่สามารถระบุ
ได้ว่าปราสาทประธานจะเป็นทรงพุ่มหรือไม่ ในขณะเดียวกันหลังของมณฑปจะเป็นประทุน
ทับหลังภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ตั้งอยู่ที่ บริเวณซุ้มประตูปราสาทพนมวัน
บ้านมะค่า ต�าบลบ้านโพธิ์ อ�าเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
102 รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม