Page 116 - HistoryofNakornratchasima
P. 116
ธรรมศาลาสมัยพระเจ้าชัยวรรมันที่ ๗
จากข้อความในฉันท์ของจารึกปราสาทพระขรรค์ที่เมืองพระนคร
กล่าวถึง “พระเจ้าชัยวรรมันที่ ๗ ทรงสร้างบ้านมีไฟ” หรือ ธรรมศาลา
หรือเรียกว่า ปราสาทแบบ วหนิคฤหะ เป็นอาคารที่พักของคนเดินทางที่
ปรากฏในจดหมายเหตุจิวตากวน ความว่า “บนเส้นทางสายใหญ่มีอาคาร
ที่พ�านักของคนเดินทาง” (ภภพพล จันทร์วัฒนกุล, ๒๕๖๐ : ๔๗)
หม่อมเจ้า สุภัทรดิส ดิสกุล ได้ทรงอธิบายความเรื่อง “วหนิคฤหะ”
ไว้ว่า “วหนิคฤหะเป็นอาคารไม้ แต่มีปราสาทสร้างด้วยศิลาแลงตั้งอยู่เป็น
ที่สังเกต คือ มีปราสาทเป็นที่ประดิษฐานรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
ซึ่ึ่งเป็นที่พึ่งบูชาของผู้เดินทางตั้งอยู่ในห้องทางทิศตะวันตก ปราสาทแบบนี้
มุขค่อนข้างยาวออกไปทางทิศตะวันออก มีหน้าต่างหลายบานเฉพาะผนัง
ทางทิศใต้ของมุข อาคารศิลาแลงแห่งนี้บางครั้งก็แสดงให้เห็นว่าน�าแท่งศิลาเก่า
มาใช้ในการก่อสร้างใหม่ เพราะยังคงมีลวดลายเก่าสลักอยู่ และบางครั้งก็
มีรูปพระพุทธรูปปางสมาธินั่งอยู่ในซึุ่้ม(เรือนแก้ว)หลายองค์ตั้งอยู่บน(สัน)
หลังคาของมุขที่ยื่นออกมาทางด้านทิศตะวันออกด้วย ไม่ปรากฏว่าได้ค้นพบ
ก�าแพงล้อมรอบ มุขนั้นยาวมีเนื้อที่มากจนท�าให้สงสัยว่าจะให้ผู้เดินทางเข้าพัก
ภายในมุขนั้นด้วยหรือไม่”
ยอร์ช เซึ่เดส์ ได้ตีความค�าว่า บ้านมีไฟ หมายถึง ที่พักคนเดิน ซึ่ึ่ง
มีจ�านวนทั้งหมด ๑๒๑ แห่ง ตั้งอยู่ห่างกันประมาณแห่งละ ๑๕ กิโลเมตร หรือ
ที่มีบางท่านเรียกเส้นทางนี้ว่า “ราชมรรคา” (G. Coedès, ๑๙๖๗ : ๑๗๖)
เส้นทางราชมรรคา คือ เส้นทางสายหลักในราชอาณาจักรจากเมือง
พระนครหลวง ๓ สาย สายหนึ่งไปยังเมืองวิชัยปุระ ซึ่ึ่งเป็นเมืองหลวงของ
ราชอาณาจักรจาม สายหนึ่งมายังเมืองพิมาย และอีกสายหนึ่งไปยังภาคกลาง
ของประเทศไทย
114 รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม