Page 32 - HistoryofNakornratchasima
P. 32
เมืองเสมา
เมืองเสมา ตั้งอยู่ที่ต�าบลเสมา อ�าเภอสูงเนิน เป็นชุมชนโบราณที่ส�าคัญมากแห่งหนึ่ง
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่องรอยตัวเมืองยังปรากฏชัดเจน มีแผนผังเป็นรูปวงรีแบ่งพื้นที่
ออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ บริเวณที่เรียกว่า เมืองชั้นใน ถัดขึ้นมาทิศเหนือเรียกว่า เมืองชั้นนอก
และคูน�้าคันดินที่ต่อจากเมืองชั้นนอกออกไปอีกทางทิศเหนือ พื้นที่รวมทั้งหมดของเมืองเสมา
ทั้ง ๓ ส่วนมีความกว้างประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร ยาวประมาณ ๒.๓ กิโลเมตรในบริเวณเมือง
แห่งนี้พบร่องรอยโบราณสถานหลายแห่ง แต่เหลือเพียงส่วนฐานที่เป็นอิฐเท่านั้น
โบราณสถานสมัยทวารวดีที่น่าสนใจที่สุดในพื้นที่บริเวณเมืองเสมาในอดีต คือ
“พระพุทธไสยาสน์วัดธรรมจักรเสมาราม” ตั้งอยู่นอกแนวคูน�้าคันดินเมืองเสมาลงมาทางทิศใต้
ประมาณ ๕๐๐ เมตร ปรากฏร่องรอยศาสนสถานในพุทธศาสนาเป็นวิหารก่ออิฐขนาดใหญ่
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่ องค์พระยาวประมาณ ๑๓ เมตรเศษ
สร้างด้วยการน�าหินทรายก้อนใหญ่มาต่อเป็นท่อน ๆ องค์พระอยู่ในท่าไสยาสน์ตะแคงขวา
หันพระเศียรไปทางทิศใต้ ผินพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ การวางพระหัตถ์และพระพาหาราบ
ขนาบไปกับพื้นเพื่อรองรับพระเศียร เป็นลักษณะส�าคัญของศิลปะทวารวดีที่ใกล้เคียงลักษณะ
พระพุทธรูปอินเดีย ถือเป็นพระพุทธไสยาสน์สมัยทวารวดีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พระพุทธรูป
แกะสลักลอยตัวขนาดใหญ่องค์นี้แตกต่างจากพระนอนสมัยทวารวดีแห่งอื่น ๆ ในภาคตะวันออก
เฉียงเหนือที่มักจะเป็นเพียงภาพแกะสลักบนเพิงผาเท่านั้น (กรมศิลปากร, ๒๕๕๘ : ๑๙๗)
นอกจากพระพุทธไสยาสน์แล้ว ยังมีการค้นพบโบราณวัตถุแบบทวารวดีอีกหลายชิ้น
ชิ้นที่ส�าคัญคือ “ธรรมจักรศิลา” เป็นธรรมจักรที่มีวงล้อแบบทึบ ด้านล่างของวงล้อแกะสลัก
เป็นลายหน้ากาล วัฒนธรรมการสร้างธรรมจักรศิลาเป็นเอกลักษณ์ของทวารวดีในภาคกลาง
ซึ่ึ่งพบได้น้อยมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นธรรมจักรชิ้นนี้จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า
วัฒนธรรมทวารวดีที่มารุ่งเรือง ณ เมืองเสมานั้นน่าจะแพร่กระจายมาจากทางภาคกลาง
พระพุทธไสยาสน์ หรือ พระนอนหินทราย ประดิษฐานอยู่ในวัดธรรมจักรเสมาราม
ตั้งอยู่ที่ บ้านคลองขวาง ต�าบลเสมา อ�าเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
30 รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม