Page 36 - HistoryofNakornratchasima
P. 36

สมัยลพบุรี

                สถานะความเป็นรัฐอิสระของอาณาจักรศรีจนาศะ
           สิ้นสุดลงในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ดังปรากฏจารึก
           ที่พบในเมืองเสมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นจารึกภาษา
           สันสกฤตและภาษาเขมร ด้านที่หนึ่งมีเนื้อความกล่าว
           สรรเสริญเทพเจ้าตรีมูรติทั้งสาม ตามด้วยการสรรเสริญ
           “พระเจ้าชัยวรรมันที่ ๕” และพระราชกรณียกิจของ
           พระองค์ ด้านที่สองกล่าวถึงการสร้างเทวรูปพระศิวะ พระวิษณุ
           และพระพรหม โดยพราหมณ์นามว่า “ยัชญวราหะ” ผู้เป็น
           ปุโรหิตของพระเจ้าชัยวรรมันที่ ๕ และด้านที่สามกล่าวถึง
           การอุทิศข้าทาสชายหญิงแด่ศาสนสถานตามขนบธรรมเนียม
           อารยธรรมขอม การปรากฏพระนามกษัตริย์กัมพูชาและ
           พราหมณ์คนส�าคัญนี้ แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษ
           ที่ ๑๕ นี้เป็นต้นไป อารยธรรมขอมได้เข้ามามีบทบาทเหนือ
           ดินแดน “อาณาจักรศรีจนาศะ” เดิมที่เมืองเสมาแล้ว (มยุรี
           วีระประเสริฐ, ๒๕๔๕ : ๑๐๘-๑๐๙) ต่างกับการปรากฏ
           โบราณสถานในบริเวณใกล้กับเมืองเสมา ได้แก่ ปราสาท
           เมืองแขก และปราสาทโนนกู่ เป็นต้น หลังจากการแผ่อ�านาจ
           ของราชส�านักขอมจากทะเลสาบเขมรในช่วงรัชกาลพระเจ้า-
           ยโศวรรมันที่ ๑ มายังพื้นที่โคราชดังที่ปรากฏพระนามของ
           พระองค์ในศิลาจารึกปราสาทพนมวัน จนกระทั่งการเข้ามา
           ครอบครองศรีจนาศะในรัชกาลพระเจ้าชัยวรรมันที่ ๕ ความ-
           สัมพันธ์ระหว่างราชส�านักที่ลุ่มแม่น�้ามูลและราชส�านัก
           ทะเลสาบเขมรเป็นไปในทางรัฐเครือญาติ ดังเช่น กรณีของ
           ราชวงศ์มหิธรปุระ เป็นต้น














        34 รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41