Page 91 - HistoryofNakornratchasima
P. 91

สังเขปอารยธรรมขอมในภาคตะวันออก่เฉียงเหนือของประเทศไทย

             ร่องรอยหลักฐานของอารยธรรมขอมปรากฏในเขตลุ่มแม่น�้ามูล ตั้งแต่ช่วงกลาง
        พุทธศตวรรษที่ ๑๒ ดังจะเห็นได้จากหลักฐานจารึกของพระเจ้ามเหนทรวรรมัน แต่หลังจากรัชสมัยนั้น
        ลงมาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ไม่พบหลักฐานอะไรที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับราชส�านัก
        แถบทะเลสาบเขมร  จนกระทั่งในรัชกาลพระเจ้าอินทรวรรมันที่ ๑ ช่วงต้นปี พ.ศ. ๑๔๐๐ จึงได้ปรากฏ
        หลักฐานของราชส�านักของเมืองพระนคร
             ในช่วงปี พ.ศ. ๑๕๕๐-๑๖๐๐ โดยประมาณ การขยายตัวของโบราณสถานอารยธรรมขอม
        ในเขตลุ่มแม่น�้ามูลมีจ�านวนมากขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวของอารยธรรมขอมเป็นอย่างมาก
        อีกทั้งในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เริ่มจะปรากฏปราสาทขอมในเขตลุ่มแม่น�้ามูลตอนบน เช่น ปราสาท
        กู่กาสิงห์ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นต้น
             เนื่องจากพื้นที่ลุ่มแม่น�้ามูลเป็นแหล่งทรัพยากรส�าคัญ ดังนั้นจึงมีพื้นฐานเศรษฐกิจที่ดีระดับสูง
        ด้วยเหตุนี้กษัตริย์ในอารยธรรมขอมโบราณ อาทิ พระเจ้าสูรยวรรมันที่ ๒ และพระเจ้าชัยวรรมัน
        ที่ ๗ สืบสันติวงศ์จากราชวงศ์มหิธรปุระจากต้นแม่น�้ามูลลงมามีอ�านาจในราชส�านักเมืองพระนครได้
             ร่องรอยของอารยธรรมขอมในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นมีปรากฏให้เห็น
        จ�านวนมาก จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีศาสนสถานในอารยธรรมขอมหลายแห่ง
        อาทิ ปราสาทเมืองแขก ปราสาทโนนกู่ ปราสาทเมืองเก่า ปรางค์พะโค ปราสาทวัดปรางค์ทอง
        ปราสาทพนมวัน ปราสาทพิมาย อโรคยศาลสมัยพระเจ้าชัยวรรมันที่ ๗ และธรรมศาลา
        ในปราสาทต่าง ๆ































                                      รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม 89
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96