Page 89 - HistoryofNakornratchasima
P. 89
ความหมายของค�าว่า “ขอม”
ค�าว่า ขอม ที่ปรากฏอยู่ในจารึกวัดศรีชุม บรรทัดที่ ๒๕-๒๘ ด้านที่ ๑
หลักที่ ๒ กล่าวถึง ขอมสบาดโขลญล�าพงมายึดเมืองสุโขทัย ในช่วงก�าลังจะสถาปนา
ราชวงศ์พระร่วง สันนิษฐานว่าจารึกขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ แต่เดิมนั้น
ขอม หมายถึง เขมร แต่จากการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์
ในปัจจุบันหลายคนต่างมีค�าอธิบายค�าว่า ขอม ในนัยยะจากหลักฐานที่แตกต่าง
ออกไปถึงความหมายของ ค�าว่า ขอม นั้นไม่ได้หมายถึงกลุ่มคนที่เรียกว่า เขมร
เพียงเท่านั้น โดยกรณีศึกษาดังต่อไปนี้
กรณีที่ ๑ ค�าว่า กรอม กะหลอม และ ขอม ในเชิงนิรุกติศาสตร์ พบว่า
ทั้ง ๓ ค�านี้มีความสัมพันธ์กัน และปรากฏในภาษาไทลื้อ ไทใหญ่ มูเซึ่อ และ
จีนฮ่อ ไม่มีภาษาใดที่ใช้ค�านี้ ในฐานะของชาวเขมรในประเทศกัมพูชาแต่ประการใด
โดยเฉพาะในภาษาไทลื้อ และไทใหญ่ ค�านี้หมายถึง คนไทยภาคกลาง (จิตร ภูมิศักดิ์,
๒๕๓๕ : ๔๐๓-๔๑๗)
กรณีที่ ๒ ค�าบอกเล่าของเจ้าศักดิ์ประเสริฐ ณ จ�าปาศักดิ์ ความว่า “ชาวใต้
มาจากใต้ ผิวคล�้า ตัดผมสั้น นุ่งผ้าโจงกระเบนทั้งหญิงทั้งชาย เขาเรียกว่า ‘กะหลอม’
แปลว่า ‘ขอม’ ดังนั้นนัยยะของค�าว่า “ขอม” ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย
ไม่ได้หมายถึงเชื้อชาติ แต่เป็นค�าเรียกลักษณะผู้คนทางภายใต้ (นายบุญช่วย
ศรีสวัสดิ์, ๒๕๔๗ : ๕)
กรณีที่ ๓ ในพงศาวดารหอแก้ว ค�าว่า “คฺยวน และ คฺยวม” มีรากค�าว่า
“กฺรวม” และพวก “คฺยวม” หรือ “คฺยวน” ได้ยกทัพมาตีเมืองสะเทิมในปี พ.ศ. ๑๕๙๙
แม่ทัพของพวก “คฺยวม” หรือ “คฺยวน” ที่ถูกจับตัวมีรายชื่อ คือ ออกพระราน
ออกพระแร ออกพระโบน และออกพระแปะ ซึ่ึ่งบรรดาศักดิ์ “ออกพระ” ก็หาใช่
เป็นบรรดาศักดิ์ทางฝ่ายทะเลสาบเขมร แต่เป็นบรรดาศักดิ์ฝ่ายลุ่มแม่น�้า
เจ้าพระยา โดยค�าว่า “คฺยวม” หรือ “คฺยวน” หมายถึง กรอมที่ลุ่มแม่น�้า
เจ้าพระยาในเขตละโว้-อโยธยา (จิตร ภูมิศักดิ์, ๒๕๓๕ : ๔๔๕-๔๕๘)
กรณีที่ ๔ จารึกวัดศรีชุม บรรทัดที่ ๒๓ หลักที่ ๒ กล่าวถึง “ขอมเรียก
พระธมนั้นแล สถิตครึ่งกลางเมืองพระกฤษณ์” เมืองพระกฤษณ์ตั้งอยู่ที่ใด
สันนิษฐานว่าตั้งอยู่ที่นครปฐม ซึ่ึ่งเมืองพระกฤษณ์นี้อาจหมายถึงเมืองทวารวดี
แต่ขอมที่เรียกพระธมไม่ใช่กลุ่มคนบริเวณเมืองโบราณนครปฐม หรือคนในพื้นที่
ภาคกลางตอนล่าง (กรมศิลปากร, ๒๕๒๗ : ๖๒)
ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ได้อธิบายความหมายของค�าว่า ขอม จากบริบท
และหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้นค�าว่า ขอม ที่ปรากฏนั้นจึงไม่ได้ความหมายถึง
เขมรเพียงอย่างเดียว
รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม 87