Page 90 - HistoryofNakornratchasima
P. 90
ค�าว่า ขอม หมายถึง เขมร ตั้งแต่เมื่อใด
ค�าว่า ขอม มีความหมายเท่ากับค�าว่า เขมร ปรากฏข้อความทางการในพระราชพงศาวดาร
ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ช�าระในปี พ.ศ. ๒๒๓๓ รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชความว่า
“ศักราช ๙๖๕ เถาะศก (ตรงกับปี พ.ศ. ๒๑๔๖) ทัพพระเจ้าฝ่ายหน้าเสด็จไปเอาเมืองขอมได้”
(กรมศิลปากร, ๒๕๔๙ : ๒๖)
แต่จากหลักฐานอื่น ๆ อาจสันนิษฐานได้ว่าค�าว่า ขอม มีความหมายเท่ากับค�าว่า เขมร
มาก่อนหน้านั้นแล้ว เมื่อประชากรในเขตภาคกลางเรียกตนเองว่า คนไทย จึงเปลี่ยนค�าว่า ขอม
ใช้เรียกเขมรที่ทะเลสาบเขมร (Tonle Sap) ในช่วงการสถาปนากรุงศรีอยุธยาในเขตลุ่มแม่น�้า
เจ้าพระยามีขั้วอ�านาจเป็น ๒ ฝ่าย คือ ละโว้และสุพรรณบุรี เดิมธรรมเนียมจารีตของฝั่งสุพรรณบุรี
ที่มีความใกล้ชิดกับวัฒนธรรมไท-ลาว มีบทบาททัดเทียมกับธรรมเนียมข้างละโว้ที่เชื่อว่า
มีความใกล้ชิดกับทะเลสาบเขมร แต่เมื่อฝั่งสุพรรณบุรีมีอ�านาจในกรุงศรีอยุธยาท�าให้วัฒนธรรม
ไท-ลาว มีความโดดเด่นขึ้นมา ซึ่ึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่ของลุ่มแม่น�้า
เจ้าพระยา ด้วยเหตุนี้ทางวงศ์สุพรรณบุรีจึงผลักค�าว่า ขอม เท่ากับ เขมร ท�าให้ผู้คนสังคมรุ่นเก่าเรียก
คนแถบทะเลสาบเขมรว่า “ขอม”
ทะเลสาบเขมร หรือ โตนเลสาบ (Tonle Sap) เป็นแหล่งประมงน�้าจืดที่ส�าคัญที่สุด
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของประเทศกัมพูชา มีพื้นที่ประมาณ
๑๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร (ภภพพล จันทร์วัฒนกุล, ๒๕๖๐ : ๑๕)
88 รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม