Page 66 - คู่มือหลักสูตรการพัฒนาสื่อการเรียนดิจิทัลด้วยระบบ VR AR และ MR
P. 66

เนื้อหาโครงสร้างหลักสูตรการฝึกทักษะการพัฒนาคอนเทนต์หลักสูตรฝึกอบรมด้วย VR AR และ MR


                   สำนักงาน กสทช.เร่งรีบหาแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อให้คลื่น 900 MHz ขายออกทันที โดยเฉพาะแนวทาง

                   ย้ายคลื่นรถไฟออกไป

                                เปิดเงื่อนไขใช้คลื่นรถไฟ หากไม่ใช้ภายในปี 2563 ถือว่าสิ้นสุด

                                ตามข้อตกลงของ กสทช.ทำไว้กับกระทรงคมนาคม ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าย่านคลื่น 800-900 MHz

                   เป็นย่านคลื่นสำหรับเทคโนโลยี Global Systems for Mobile Communication – Railway หรือ GSM–R แต่

                   หากกระทรวงคมนาคมยังไม่มีการลงนามในสัญญาดำเนินการใช้งานอาณัติสัญญาณของระบบคมนาคม ขนส่งทาง

                   รางซึ่งใช้งานคลื่นความถี่ 885-890 / 930-935 MHz ภายในปี 2563 ให้ถือว่าการจัดสรรนี้สิ้นสุดลง ซึ่ง กสทช.จะ

                   จัดสรรคลื่นย่านนี้ไปใช้ในกิจการโทรคมนาคมต่อไป













                                จบปัญหาคลื่นแทรกรถไฟฟ้า กสทช.ยกคลื่น 2495MHz ให้ BTS ใช้ฟรี

                                สำนัก งานคณะกรรมการกิจ การกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

                   หรือ กสทช. ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องทั้ง 3 ฝ่าย คือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น

                   จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส แก้ปัญหาระบบอาณัติ

                   สัญญาณที่รบกวนเส้นรถไฟฟ้าสายสีเขียว จนเกิดเหตุขัดข้องทำให้ขบวนรถล่าช้าตั้งแต่วันจันทร์ที่ 25-27 มิถุนายน

                   2561

                                โดย กสทช.แนะนำให้ BTS ปรับระบบอาณัติสัญญาณไปใช้ความถี่ 2480-2495 MHz จากเดิมที่

                   เคยใช้คลื่นความถี่ 2400 MHz เพื่อให้บริการ WiFi

                                เหตุผลหลักๆ ที่ขบวนรถไฟฟ้าเกิดความล่าช้า เนื่องมาจากว่า BTS ได้เปลี่ยนตัวควบคุมการเดินรถ

                   ใหม่มาใช้ระบบไร้สายโดยใช้คลื่นความถี่ 2400 MHz ซึ่งเป็นคลื่นสาธารณะที่ให้บริการ Wi-Fi แม้แต่ โดรน (Drone

                   : อากาศยานไร้คนขับ) ก็ยังใช้คลื่นนี้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ BTS ที่คนส่วนใหญ่ใช้บริการในเมือง  เมื่อเกิดการใช้

                   งาน Wi-Fi ในคนที่หนาแน่นสัญญาณจึงเกิดการรบกวน

                                ประการสำคัญที่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นมา เป็นเพราะ BTS ไม่ยอมลงทุนสร้างระบบป้องกันการโดน

                   สัญญาณรบกวน จึงทำให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น เนื่องจากคลื่นความถี่ 2400 MHz เป็นคลื่นที่อยู่ใกล้กับย่านความถี่

                   2370- 2400 MHz ซึ่งเป็นคลื่นที่ ทีโอที ได้รับสิทธิ์จาก กสทช.ถึงปี 2568 และได้อนุมัติให้ ดีแทค ทำหน้าที่เป็นคู่

                   ค้าทางธุรกิจเพื่อมาบริหารจัดการต่อในเชิงพาณิชย์ จนเกิดปัญหาคลื่นรบกวนระหว่างกัน








               รายงานการพัฒนาสื่อการเรียนดิจิทัลด้วยระบบ VR AR และ MR เพื่อช่วยพัฒนาทักษะวิศวกรซ่อมบ ารุงระบบราง     หน้า | 63
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71