Page 13 - บทความนายเฉลิมเกียรติสุดสาคร-10-กพ.2562
P. 13
ภาพที่ 3 รูปแบบการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย
บทสรุป
คนไทยและชาวต่างชาติเชื่อว่าพะยูงเป็นไม้มงคล และมีลวดลายที่สวยงามและความคงทนของเนื้อไม้
พะยูง ชาวสิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกง และจีนสนใจไม้พะยูงมาก โดยเฉพาะจีนเป็นตลาดไม้พะยูงขนาดใหญ่ ใน
ประเทศจีนไม้พะยูงถูกใช้ท าเป็นสิ่งต่างๆ สารพัดชนิด ต่อมาไม้พะยูงมีราคาสูงขึ้นมาก ได้มีการน าเอามาท า
เฟอร์นิเจอร์ วัตถุมงคลและของแต่งบ้านที่มีขนาดเล็ก เช่น ปี่เซียะ เทพเจ้าฮก ลก ซิ่ว หรือ เทพเจ้ากวนอู
แจกัน เป็นต้น จึงท าให้ไม้พะยูงเป็นที่นิยมเรื่อยมาและมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากไม้พะยูงซึ่งโตช้า ใช้
เวลานานเป็นสิบปี เริ่มหายากขึ้น ดังนั้น จึงมีขบวนการลักลอบตัดในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและป่าอนุรักษ์ เพื่อ
ลักลอบส่งขายไปยังต่างประเทศ โดยไม้พะยูงในพื้นที่ป่าแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาค
ตะวันออกก าลังตกเป็นเป้าหมายใหญ่ เพราะเนื้อไม้มีแก่นและลวดลายสวยงามเป็นพิเศษ ไม้พะยูงมีราคาสูงถึง
ลูกบาศก์เมตรละกว่า 700,000-1,000,000 บาท ไม้พะยูง 1 ลูกบาศก์เมตร ถ้าขายในประเทศไทยได้ราคา
เพียง 50,000–100,000 บาท แต่เมื่อส่งไปขายตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ราคาจะเพิ่มขึ้นเกือบ
10 เท่าตัว นอกจากนั้นไม้มีค่าอื่นๆ ในประเทศไทย เช่น ไม้ชิงชัน ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้แดง และไม้มะค่าโมง เป็น
ต้น ก็ถูกลักลอบตัดและส่งขายต่างประเทศเช่นกัน ส่วนสถิติคดีท าไม้มีค่าในประเทศไทย ระหว่างปีงบประมาณ
พ.ศ. 2555-2560 พบว่า มีคดีทั้งสิ้น 14,366 คดี มีผู้ต้องหารวม 5,6 0 1 คน ชนิดไม้มีค่าที่ยึดได้ 5 5 5 ,6 9 5