Page 8 - บทความนายเฉลิมเกียรติสุดสาคร-10-กพ.2562
P. 8
2. สภาพการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย
หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีค าสั่งที่ 64/2557 เรื่อง การปราบปรามและการหยุดยั้งการ
บุกรุกท าลายทรัพยากรป่าไม้ สั่ง ณ วันที่ 14 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด าเนินการ
ปราบปรามจับกุมผู้บุกรุกยึดถือครอบครองท าลายหรือท าประการใดใดอันเป็นการท าให้เสื่อมเสียสภาพป่า
รวมทั้งผู้สมคบและสนับสนุนช่วยเหลือให้ได้ผลอย่างจริงจังในทุกพื้นที่ รวมทั้งสกัดกั้นการลักลอบตัดไม้มีค่า
หรือไม้หวงห้าม การน าเข้าและส่งออกไม้ที่ผิดกฎหมายตลอดแนวชายแดน ตลอดจนปราบปรามเครือข่าย
ขบวนการตัดไม้ท าลายป่าในทุกหมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศ และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ควบคุมตรวจสอบ
กิจการการแปรรูป การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ การค้าไม้แปรรูป ตลอดจนการค้าหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวง
ห้ามและสิ่งประดิษฐ์ใดใด เครื่องใช้หรือสิ่งใดที่ท าด้วยไม้หวงห้าม หากพบมีการปล่อยปละละเลย หรือมีเจตนา
จงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายที่บัญญัติไว้ ให้ด าเนินการลงโทษตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดกับเจ้าของ
หรือผู้ประกอบการโดยทันที โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบติดตามผลคดีป่าไม้และด าเนินการฟื้นฟูพื้นที่ป่าถูก
บุกรุกท าลายให้คืนสภาพป่าที่สมบูรณ์ดังเดิม โดยประสานงานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งภาค
ประชาชนและองค์กรชุมชนได้เข้ามีส่วนร่วมในการด าเนินการดังกล่าว ดังนั้น คณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการตัดไม้ท าลายป่าแห่งชาติ (คปป.) จึงได้ก าหนดแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการด าเนินคดีด้าน
ทรัพยากรป่าไม้ แนวทางก าหนดแนวเขตพื้นที่ป่าไม้เพื่อการจัดการอย่างยั่งยืน และแนวทางการแก้ไขปัญหา
ประชาชนอยู่อาศัยและและท ากินในพื้นที่ป่าไม้ขึ้น (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2558)
ต่อมารัฐบาลภายใต้การน าของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ให้ความส าคัญกับปัญหา
การการท าลายทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบ
แห่งชาติได้อนุมัติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดถือและปฏิบัติตามแผนแม่บทแก้ไขปัญหาการท าลายทรัพยากรป่า
ไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน (แผนแม่บทการพิทักษ์
ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ, 2557) โดยมุ่งพิทักษ์รักษาพื้นที่ป่าไม้ให้มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ให้ได้พื้นที่ป่าอย่างน้อย
ร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ภายใน 10 ปีบนพื้นฐานการบริหารจัดการอย่างเป็นธรรม มีเอกภาพ และ
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ 1) เพื่อหยุดยั้งการตัดไม้ท าลาย
ป่าและทวงคืนผืนป่าจากผู้บุกรุกครอบครองให้ได้ตามที่เป้าหมายก าหนดไว้ภายใน 1 ปี 2) เพื่อให้มีระบบ
บริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และยั่งยืนภายใน 2 ปี และ 3) เพื่อฟื้นฟูสภาพ
ป่าในพื้นที่ป่าเป้าหมายทั่วทั้งประเทศให้มีสภาพที่สมบูรณ์ภายใน 2-10 ปี (แผนแม่บทการพิทักษ์ทรัพยากรป่า
ไม้, 2557)
นอกจากนั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหากระบวนการลักลอบตัดไม้พะยูงและ
ไม้มีค่าในประเทศไทย โดยมีมาตรการด าเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการลักลอบตัดและค้าไม้พะยูงและไม้
มีค่าในประเทศไทย เพื่อให้เกิดการปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกท าลายทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ต่างๆ
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และลดผลกระทบที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และ
สิ่งแวดล้อมของประเทศโดยรวม และต่อมาได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 เรื่อง
แก้ไขเติมเดิมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ประกาศให้พะยูงเป็นไม้หวงห้าม ผู้กระท าผิดต้องระวางโทษจ าคุก ตั้งแต่
หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นถึงสองล้านบาท (กองพัฒนายุทธศาสตร์และติตตามนโยบายพิเศษ,
2560)
ส าหรับผลการศึกษาสภาพการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทยนั้น
พบว่า พะยูงเป็นไม้ที่คุณค่าของประเทศ ถูกจัดเป็นพืชที่ให้เนื้อไม้ชั้นหนึ่ง เนื่องจากเนื้อไม้มีสีสันที่สวยงามมี
ความแข็งมากและทนทาน แห้งแล้วไม่แตกหรือร้าว ตลอดจนทนต่อการกัดท าลายของแมลงชนิดต่างๆ รวมทั้ง