Page 3 - บทความนายเฉลิมเกียรติสุดสาคร-10-กพ.2562
P. 3

เพิ่มสูงขึ้น ที่ส าคัญขณะนี้ประเทศไทยเป็นแหล่งที่ยังมีไม้พะยูงเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในโลก เพราะไม้พะยูงใน
               ประเทศเพื่อนบ้านได้ถูกลักลอบตัดไปเกือบหมดแล้ว ส่งผลให้ขบวนการลักลอบตัดและค้าไม้พะยูงข้ามชาติได้

               พุ่งเป้าหมายมาที่ไม้พะยูงในประเทศไทย (เฉลิมเกียรติ สุดสาคร, 2555; 2 5 6 0 )  เนื่องจากไม้พะยูงมีราคาสูง
               และเป็นที่ต้องการจากต่างประเทศ ขบวนการลักลอบตัดและค้าไม้พะยูงข้ามชาติ จึงมีความพยายามอย่าง
               ต่อเนื่องที่จะลักลอบน าไม้พะยูงออกขายตลาดต่างประเทศให้ได้มากที่สุด โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการใน
               การลักลอบตัดและขนส่งไม้พะยูงตลอดเวลา (ภูมิหทัย กิตติพัฒนกุล และคณะ,2559) หน่วยงานและเจ้าหน้าที่

               ของรัฐที่เกี่ยวข้องจ าเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจังและเด็ดขาดในการป้องกันและปราบปรามขบวนการ
               ลักลอบตัดและค้าไม้พะยูงด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โดยยึดผลประโยชน์ของแผ่นดินเป็นที่ตั้ง แต่ปรากฏว่าการ
               ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าที่ของรัฐไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปรากฏข้อมูลข่าวสารว่ามีเจ้าหน้าที่
               ของรัฐบางส่วนกระท าการทุจริตโดยเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการลักลอบตัดและค้าไม้พะยูงและไม้มีค่า

               ในประเทศไทย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตระหนักถึงคุณค่าของ
               ไม้พะยูง และให้ความส าคัญกับการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน โดยก าหนดให้การคุ้มครองป้องกันไม้พะยูง รวมทั้งต้อง
               มีมาตรการในการป้องกันและปราบปรามขบวนการลักลอบตัดและค้าไม้พะยูงให้มีประสิทธิภาพ และการ
               บริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน (ราชกิจจานุเบกษา, 2557)

                       การป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย จึงถือเป็นภารกิจส าคัญ
               ที่จะช่วยกันปกป้อง อนุรักษ์และร่วมมือในการพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้มีค่าของไทยทั้ง 6 ชนิด คือ ไม้พะยูง
               ไม้ชิงชัน ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้แดง และไม้มะค่าโมง ให้เป็นสมบัติของแผ่นดินอย่างยั่งยืน ดังนั้น  โดยมุ่งเน้น

               การศึกษา วิเคราะห์แนวนโยบายในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่า มาตรการใน
               การป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าของรัฐบาล ในช่วงปี พ.ศ. 2 5 5 7 -2 5 6 0  และ
               แนวทางการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าตามมติคณะรัฐมนตรี และค าสั่งคณะ
               รักษาความสงบแห่งชาติ ตลอดจนเอกสารเชิงวิชาการ เอกสารของหน่วยงานราชการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ
               ผลการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามของ 4 หน่วยงานของรัฐ ประกอบด้วย 1) กรมป่าไม้ กระทรวง

               ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวง
               ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 4 กองอ านวยการรักษาความมั่นคงภายใน
               ราชอาณาจักร และ 4) กองบังคับการปราบปรามเกี่ยวกับการกระท าผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและ

               สิ่งแวดล้อม  บทความวิจัยเรื่อง “รูปแบบการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าใน
               ประเทศไทย”นี้ จะน าเสนอผลการศึกษากระบวนการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย สภาพการ
               ป้องกันและปราบปรามการตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย และน าเสนอรูปแบบการป้องกันและ
               ปราบปรามการตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย ผลจากการวิจัยครั้งนี้ จะก่อประโยชน์ทางวิชาการ

               ชุมชนและสังคม และนโยบายในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย
               ต่อไป

               วัตถุประสงค์การวิจัย

                       1) เพื่อศึกษากระบวนการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย
                       2) เพื่อศึกษาสภาพการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย
                       3) เพื่อเสนอรูปแบบการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย
   1   2   3   4   5   6   7   8