Page 4 - บทความนายเฉลิมเกียรติสุดสาคร-10-กพ.2562
P. 4

วิธีด าเนินการวิจัย
                   งานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative  Research) โดยใช้การวิจัยเชิงเอกสาร

               (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth Interview) และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus
               Group) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาเพื่อศึกษากระบวนการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มี
               ค่าในประเทศไทย ศึกษาสภาพการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย และเพื่อ
               เสนอรูปแบบการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการศึกษา

               วิเคราะห์แนวนโยบายในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่า มาตรการในการ
               ป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าของรัฐบาล ในช่วงปี พ.ศ. 2557-2560 และแนวทาง
               การป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าตามมติคณะรัฐมนตรี และค าสั่งคณะรักษาความ
               สงบแห่งชาติ ตลอดจนเอกสารเชิงวิชาการ เอกสารของหน่วยงานราชการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และผลการ

               ปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามของหน่วยงานของรัฐ  โดยมีขอบเขตการวิจัยดังนี้
                   ขอบเขตด้านเนื้อหาและองค์ความรู้ งานวิจัยนี้ มุ่งศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนารูปแบบการป้องกัน
               และปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย โดยมีขอบเขตด้านเนื้อหาและองค์ความรู้ 3
               ประเด็น ได้แก่ 1) กระบวนการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย 2) สภาพการป้องกันและ

               ปราบปรามการตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย 3) รูปแบบการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้พะยูง
               และไม้มีค่าในประเทศไทย
                   ขอบเขตด้านหน่วยงานและกลุ่มประชากรเป้าหมาย  ขอบเขตด้านหน่วยงาน ประกอบด้วย

               หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องและรับผิดชอบในการป้องกันและปรามปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าใน
               ประเทศไทย 4 หน่วยงาน ได้แก่ 1) กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) กรมอุทยาน
               แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 4
               กองอ านวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และ 4) กองบังคับการปราบปรามเกี่ยวกับการกระท า
               ผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขอบเขตด้านประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่

               และบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย
               จาก 4 หน่วยงานของรัฐ จ านวน 12 คน โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1) กรมป่าไม้ กระทรวง
               ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวง

               ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 4 กองอ านวยการรักษาความมั่นคงภายใน
               ราชอาณาจักร และ 4) กองบังคับการปราบปรามเกี่ยวกับการกระท าผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและ
               สิ่งแวดล้อม


               ขั้นตอนการวิจัย
                   งานวิจัยเรื่องนี้  ผู้วิจัยได้ก าหนดขั้นตอนการวิจัยออกเป็น  4 ขั้น ตอนโดยมีรายละเอียดดังนี้
                   ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน  เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                   1) ศึกษาค าสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 64/2557 เรื่องการปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุก

               ท าลายทรัพยากรป่าไม้ ค าสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 6 6 /2 5 5 7  เรื่องเพิ่มเติมหน่วยงานส าหรับการ
               ปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกท าลายทรัพยากรป่าไม้และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคร าวใน
               สภาวการณ์ปัจจุบัน ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 เรื่อง แก้ไขเติมเดิมกฎหมายว่า
               ด้วยป่าไม้ ประมวลมติคณะรัฐมนตรี เรื่องมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหากระบวนการลักลอบตัดและค้าไม้

               พะยูง และศึกษาและวิเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
   1   2   3   4   5   6   7   8   9