Page 9 - บทความนายเฉลิมเกียรติสุดสาคร-10-กพ.2562
P. 9
ปลวก ปัจจุบันไม้พะยูงได้กลายเป็นไม้ที่มีราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก โดยเป็นผลจากการเก็งก าไรในทา ง
การค้าและความเชื่อทางวัฒนธรรมของต่างชาติที่เชื่อว่าการใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ท าจากไม้พะยูงจะท าให้เลือดลม
เดินสะดวกขึ้น ในขณะที่คนไทยนั้นถือว่าไม้พะยูงเป็นของสูง จึงมักนิยมใช้ไม้พะยูงท าโต๊ะหมู่บูชา โดยไม่มีการ
ใช้เป็นไม้พื้น (กรมวิชาการเกษตร, 2558) นอกจากไม้พะยูงแล้ว ยังมีไม้มีค่าในประเทศไทย 5 ชนิด ได้แก่
ไม้ชิงชัน ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้แดง และไม้มะค่าโมงที่มีการลักลอบตัดและค้าในปัจจุบัน ส าหรับข้อมูลการลักลอบ
ตัดและค้าไม้ที่ถูกจับและด าเนินคดีตามสถิติคดีท าไม้มีค่าในประเทศไทย ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2 5 5 5 -
2560 มีคดีทั้งสิ้น 14,366 คดี มีผู้ต้องหารวม 5,601 คน ชนิดไม้มีค่าที่ยึดได้ 555,695 ท่อน/แผ่น/เหลี่ยม รวม
ปริมาตร 21,992.87 ลูกบาศก์เมตร เมื่อพิจารณารายชนิด พบว่า ไม้พะยูง มีคดีมากที่สุด 6,7 7 3 คดี ผู้ต้องหา
2,883 คน ชนิดไม้มีค่าที่ยึดได้ 193,061 ท่อน/แผ่น/เหลี่ยม รวมปริมาตร 21,992.8 7 ลูกบาศก์เมตร แต่เมื่อ
พิจารณาไม้มีค่าที่ยึดได้มากที่สุด คือ ไม้สัก จ านวน 239,0 0 1 ท่อน/แผ่น/เหลี่ยม รวมปริมาตร 9,4 1 2 .2 0
ลูกบาศก์เมตร ดังตารางที่ 1 ดังนี้
ตารางที่ 1 สรุปสถิติคดีท าไม้มีค่าในประเทศไทย ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2555-2560
ชนิดไม้มีค่า
ชนิดไม้ ปริมาตร
จ านวน(คดี) ผู้ต้องหา(คน) ท่อน/แผ่น/เหลี่ยม
(ลบ.ม.)
ไม้พะยูง 6,773 2,883 193,061 6,164.87
ไม้ชิงชัน 849 272 29,674 1,589.54
ไม้สัก 3,965 1,151 239,001 9,412.20
ไม้ประดู่ 1,677 794 72,778 3,287.57
ไม้แดง 743 327 15,923 909.80
ไม้มะค่าโมง 359 174 5,258 628.89
รวม 14,366 5,601 555,695 21992.87
ที่มา: ส่วนยุทธการด้านการป้องกันและปราบปราม ส านักป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้, 2560
สภาพการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทยพบว่ามีสาเหตุส าคัญมา
จากการครอบครองหรือใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ของรัฐโดยไม่ได้รับอนุญาต กฎหมายที่เป็นเครื่องมือหลักในการ
บริหารจัดการป่าไม้ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและการบังคับใช้กฎหมายยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
องค์กรด้านการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ขาดเอกภาพและไม่เอื้อต่อการบริการประชาชน ปัญหาความ
ขัดแย้งคนกับสัตว์ป่า โดยก าหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูง
และไม้มีค่าในประเทศไทย สอดคล้องกับข้อเสนอของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ข้อเสนอของสภาปฏิรูป
แห่งชาติ ข้อเสนอของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12พ.ศ.
2560-2564 และข้อเสนอของกระทรวงกลาโหม โดยมีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการ
ลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย ได้แก่ 1) การจัดท าแผนการปฏิรูปประเทศในเรื่องและประเด็น
ปฏิรูปทรัพยากรป่าไม้ 2) การพัฒนาองค์กรภาครัฐเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าทั้ง
ระบบ 3) การพัฒนากฎหมายเพื่อสนับสนุนการหยุดยั้งการท าลายทรัพยากรป่าไม้ 4) การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ 5)