Page 25 - The Court of Appeal for Specialized Cases_german
P. 25
3
คำนำ
สืบเนื่องจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๗) พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่
วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ กำหนดให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาว่าคดีที่ได้
ยื่นฎีกาเรื่องใดสมควรอนุญาตให้ขึ้นสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกา อันเป็นการเริ่มต้น
การเปลี่ยนแปลงระบบการฎีกาจากระบบสิทธิมาเป็นระบบอนุญาตในประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของประเทศไทย และหากศาลฎีกาไม่อนุญาต
ให้ฎีกาแล้ว คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุด ทั้งนี้ เพื่อให้
การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ให้ความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้อย่างแท้จริงและรวดเร็วขึ้น
ดังนี้ เมื่อระบบการยื่นอุทธรณ์ฎีกาในคดีแพ่งทั่วไปได้เปลี่ยนแปลงแล้ว
จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงระบบการยื่นอุทธรณ์ฎีกาของศาลชำนัญพิเศษ
ทั้งหลายให้เหมือนกับคดีทั่วไปด้วย เพื่อจัดวางระบบการอุทธรณ์ฎีกา
ให้สอดคล้องกันทั้งประเทศ จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอุทธรณ์
คดีชำนัญพิเศษ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีชำนัญพิเศษ
เป็นไปด้วยความรวดเร็ว เป็นเอกภาพ ด้วยผู้พิพากษาที่มีความเชี่ยวชาญ
และสอดคล้องกับระบบการอุทธรณ์ฎีกาคดีแพ่งที่มีการแก้ไขกฎหมายแล้ว
คณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำหนังสือ “ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ” ขึ้น
เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นแก่ผู้สนใจในการติดต่อราชการศาล และหวังเป็นอย่างยิ่ง
ว่าหนังสือเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านตามสมควร
สิงหาคม ๒๕๖๔