Page 187 - วารสารกฎหมาย ศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษ
P. 187
ฉบับพิเศษ ประจำ�ปี 2564
มาตรา 15 (5) ทั้งนี้ ตามมาตรา 27 ถึง 30 กรณีจึงมีปัญหาว่าความยินยอมของเจ้าของงาน
ควรจะอยู่ในรูปแบบใด ซึ่งในทางกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญานั้น อาจแบ่งความยินยอมของ
เจ้าของลิขสิทธิ์ได้ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ความยินยอมโดยชัดแจ้ง (express license) และ
ความยินยอมโดยปริยาย (implied license)
ความยินยอมโดยชัดแจ้งน้นมักจะทําในรูปแบบของสัญญา เช่น สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธ ิ
ั
ั
เป็นต้น นอกจากน้ อาจอยู่ในรูปแบบของการต้งข้อสงวนฝ่ายเดียวก็ได้ เช่น ระบุไว้ในงานว่า
ี
ํ
ื
ื
้
ี
ห้ามมิให้บุคคลอ่นทําซาหรือดัดแปลง ฯลฯ เป็นต้น กรณีน้ไม่มีปัญหามากนักเพราะมีการส่อสาร
ระหว่างเจ้าของงานและผู้เข้าชมงานไว้อย่างชัดแจ้ง หากมีการฝ่าฝืนความยินยอมดังกล่าว
ก็ต้องถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ดี ในบริบทของงานมีลิขสิทธิ์บนเว็บไซต์นั้น ปัญหา
ั
อาจเกิดได้ว่า เจ้าของงานไม่ได้ต้งข้อสงวนหรือนโยบายการใช้งานเว็บไซต์ไว้อย่างชัดแจ้ง
ดังเช่นที่เป็นปัญหาในคดี tickets.com ของสหรัฐอเมริกา แม้เจ้าของงานจะมีเงื่อนไขการใช้งาน
ื
(terms and conditions) ในทํานองว่าไม่อนุญาตให้บุคคลอ่นกระทําต่องานของตนก็ตาม
ี
ี
ื
แต่หากเป็นข้อความท่ไม่ชัดเจนพอท่ผู้เข้าชมจะทราบ ก็ไม่ถือว่าเป็นการห้ามไม่ให้บุคคลอ่น
linking เว็บไซต์ของเจ้าของงาน ดังนั้น การใช้และการตีความมาตรา 15 (5) ซึ่งไม่ได้บัญญัติว่า
การอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิต้องทําเป็นสัญญา ก็อาจคํานึงถึงความชัดเจนในการแสดงออก
ของเจ้าของงานด้วยเช่นเดียวกัน
ํ
ึ
่
ิ
ี
ํ
สาหรบความยินยอมโดยปรยายมความหมายว่า การกระทาใดการกระทาหนงของ
ํ
ั
เจ้าของงาน อาจถือเป็นการอนุญาตให้บุคคลอ่นใช้สิทธิอย่างใดอย่างหน่งได้แม้จะไม่ได้แสดงออก
ื
ึ
โดยชัดแจ้งและเป็นหลักที่แทรกซึมอยู่ในระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การระงับไป
ึ
ื
ื
ซ่งสิทธิเม่อมีการขายคร้งแรกก็นําหลักความยินยอมโดยปริยายมาอธิบายได้ว่า เม่อมีการขายงาน
ั
25
ื
ั
ึ
คร้งแรกเกิดข้นแล้ว ย่อมถือว่ายินยอมให้ผู้ซ้อนําไปจําหน่ายจ่ายโอนต่อได้ เช่นเดียวกับใน
บริบทของการ linking หรือ framing ซึ่งมีกลิ่นอายของความสัมพันธ์ในรูปแบบดังกล่าว ดังเช่น
ที่มีนักวิชาการจํานวนหนึ่งนําหลัก implied consent มาใช้อธิบายคําพิพากษาในคดี Svensson
26
ั
ิ
ี
กล่าวคือ การท่เจ้าของงานอันมีลิขสิทธ์นํางานของตนเผยแพร่ลงในเว็บไซต์โดยให้บุคคลท่วไป
ที่มีอินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีการหวงกั้น ย่อมถือว่ายินยอมโดยปริยายให้บุคคลอื่น
linking หรือ framing มายังเว็บไซต์ของตนได้ และรวมถึงทางฝั่งสหรัฐอเมริกาก็มีความเห็น
25 Orit Fischman Afori, Implied License: An Emerging New Standard in Copyright Law, 25 Santa Clara
Computer & High Tech. L.J. 275 (2009), 281 – 284.
26 Karapapa: The requirement for a “new public” in EU copyright law, 42(1) ELR 63 (2017), pp. 64, 74–75.
185