Page 129 - ผลงานวิชาการโครงการมหกรรมคุณภาพ โรงพยาบาลตรัง 2562
P. 129
บ้าน ป้องกันการเกิดแผล จําได้ไหมคะ” เสียงบอกเล่าพร้อมกับถาม
ย้ําอีกครั้งเหมือนกับทบทวนกับคนที่ฟังอยู่ตรงหน้า พลันผู้ป่วยชาย
สูงอายุพูดขึ้นมาว่า “หมอแหลงยาว มาเป็นคาถาเลยนะ” ฉันคิดในใจ
แล้วฉันก็นึกคําพูดขึ้นมาทันทีว่า “ใช่เลย ใช่เลย เป็นคาถา รักษาเท้า
ของคุณตา ท่องแล้วทําให้ทุกวันนะคะ” แล้วญาติก็เข็นผู้ป่วยกลับ
ออกไปรอพนักงานเปลเพื่อกลับหอผู้ป่วย ฉันก็คิดทบทวนจากคําพูด
ของผู้ป่วย “คาถา คาถา รักษาเท้า” จากคําพูดนั่นคือคําแนะนําให้
ผู้ป่วยดูแลเท้า กลายเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยให้ความสําคัญ จะต้องย้ําอีก ย้ําเล่า
เพื่อให้ผู้ป่วยรู้และเข้าใจ สามารถนําไปปฏิบัติ ส่งผลให้แผลหายเร็ว
ขึ้นนั่นเอง
7. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเชิงระบบ: มีการวางแผนการจัดทําแนว
ทางการดูแล และให้คําแนะนําแบบมีส่วนร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่และ
ผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า มีความรู้และ
เข้าใจในการดูแลแผลด้วยตนเอง
8. บทเรียนที่ได้รับ: การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า ตรงประเด็น/
ตรงสาเหตุการเกิด รวมทั้งแก้ปัญหาโดยมีความตระหนักและให้ความ
ร่วมมือของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่สําคัญที่สุด ที่จะส่งผลต่อผู้ป่วยโดยตรง
9. การติดต่อกับทีมงาน : พว.วิลาวัณย์ จริงจิตร คลินิกโรคเรื้อรัง
โรงพยาบาลตรัง เบอร์มือถือ 0954201701 Email:
avilavun@yahoo.com