Page 78 - โครงการแกว_Neat
P. 78

71

          การแต่งกายให้เหมาะสมกับบุคลิกภาพ


                 ผู้ที่มีมารยาทดีจะแต่งกายสะอาดเรียบร้อย รู้จักการสร้างเอกภาพบุคลิกภาพให้ออกมาน่าประทับใจแก่ผู้

          พบเห็น ซึ่งการแต่งกายหรือเครื่องแต่งกายจำเป็นจะต้องพิจารณาให้เหมาะสมแก่บุคลิกภาพของตน การแต่งกาย

          ให้เหมาะสมกับบุคลิกภาพของตนนั้น ไม่จำเป็นจะต้องแต่งกายให้สวยที่สุด แต่ต้องมีการกำหนดรูปแบบของการ


          แต่งกายจำเพาะหรือสไตล์ (Style) ซึ่งเป็นการสร้างเอกลักษณ์ การแต่งกายของตนเองไว้เป็นพื้นฐานที่ดีที่สุดของ

          ตนเองไว้ รูปแบบพื้นฐานที่เหมาะสมแก่รูปลักษณ์ของตนจะช่วยส่งเสริมให้การแต่งกายดูเหมาะสมและสามารถ

          ปรับปรุงตกแต่งเพิ่มเติมให้สวยงามยิ่งขึ้น


                 การแต่งกายให้เหมาะสมกับบุคลิกภาพยังต้องคำนึงถึงเพศ วัย สถานภาพของผู้แต่งด้วย เช่น ผู้หญิงต้อง

          เลือกสี ดอก ลายให้เข้ากับผิว ใบหน้า ส่วนสูง ความอ้วน ความผอม



                 สำหรับคนอ้วนไม่ควรใช้ผ้าทางขวาง ควรใช้ทางตรง หรือแนวตั้ง สีเข้ม จะทำให้ดูผอมลง คนผอมควร

          สวมใส่แนวขวาง สีอ่อน


                 การแต่งกายให้เหมาะกับความนิยมของสังคม วิชาชีพ โอกาส เวลา และสถานที่


                 การแต่งกายให้เหมาะสมกับความนิยมของสังคม หมายถึง ความนิยมในระดับมาตรฐานไม่ใช่ตามแฟชั่น

          ซึ่งเราสามารถเลือกใช้สิ่งที่ดีงามมาปรับใช้ให้เหมาะและเข้ากับรูปลักษณ์ของตนได้


                 การแต่งกายให้เหมาะกับอาชีพของตน เช่น ครูข้าราชการ นักการทูต นักการธนาคารนักธุรกิจ หรือทหาร


          ที่ต้องใส่เครื่องแบบ การแต่งกายต้องสุภาพตามสมควรแก่กาลเทศะ ต้องแต่งกายดี เหมาะสมกับลักษณะที่

          ประกอบอาชีพ (Professionalism) ของแต่ละบุคคลด้วยซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ของแพง นอกจากแต่งกายให้

          เหมาะสมกับวิชาชีพแล้ว ยังต้องแต่งกายให้เหมาะสมแก่โอกาสและพิธีการของงานต่างๆ ด้วย รวมทั้งเวลาและ

          สถานที่ด้วย แต่ถ้าเกี่ยวกับพิธีการหากได้รับเชิญไปงานพิธีใด ต้องแต่งกายตามระเบียบหรือกฎเกณฑ์สำหรับพิธี

          การนั้น ๆ ให้ถูกต้องเช่น บัตรเชิญ กำหนดให้แต่งเครื่องแบบหรือให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ก็ต้องประดับ

          ให้ถูกต้อง



                 ปรัชญาในการแต่งกาย


                 การแต่งกายให้ดีและถูกต้องจำเป็นจะต้องรู้ถึงปรัชญาในการแต่งกาย ได้แก่


                 1) ต้องรู้ว่าเครื่องแต่งกายนั้นจะแต่งเพื่อไปงานใดหรือใช้ในโอกาสใด


                 2) ต้องเข้าใจลักษณะของเครื่องแต่งกายสำหรับโอกาสนั้นเป็นอย่างไร
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83