Page 7 - เครื่องดนตรีไทย
P. 7
เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดที่เก่าแก่ของชาว
ลานนา ( เหนือ ) มีสายตั้งแต่ 2 สาย ถึง 7 สาย เดิมใช้เป็น
เครื่องดีดส าหรับแอ่วสาว นิยมดีดเพลงที่มีท านองช้าๆ
เช่น เพลงปราสาทไหว มีส่วนประกอบดังนี้
• กะโหลก ท าจากผลกะโหลกมะพร้าวแห้ง ตัดครึ่งลูก
ขัดเกลาให้บาง ผูกติดกับคันเพี๊ยะโดยมีไม้กลึงท่อนเล็กๆ
เจาะรูร้อยเชือก เชื่อมระหว่างกะลาตอนบนกับคันเพี๊ยะ
• คันเพี๊ยะ หรือคันทวน ท าด้วยไม้เนื้อแข็ง เหลากลม
เรียวยาว ตอนปลายท าด้วยโลหะเป็นรูปนกหัสดีลิง เพื่อ
พันผูกสาย ตอนโคนใหญ่เจาะรู ๒ รู เพื่อสอดใส่ลูกบิด
• ลูกบิด ท าด้วยไม้ หัวเรียวใหญ่ ปลายเล็กเพื่อสอดใส่
ในรูคันเพี๊ยะ
• สาย ท าด้วยสายป่าน ต่อมาใช้สายลวด หรือสาย
ทองเหลืองโดยโยงจากปีกนกหัสดีลิงไปพันผูกที่ลูกบิด
• รัดอก ท าด้วยเชือก โดยรัดสายเพี๊ยะให้ติดกับคันทวน
ซึ่งใช้เชือกเส้นเดียวกันกับเชือกที่ผูกกะลาที่ติดกับ
คันเพี๊ยะนั่งเอง
หลักการดีดเพี๊ยะ
ผู้ดีดจะยืนไม่สวมเสื้อมือซ้ายจับคันเพี๊ยะหงายมือให้
คันเพี๊ยะอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ ให้กระโหลก
ของเพี๊ยะปิดเนื้อทรวงอกพอดี เวลาดีดจะเปิดกะลากับ
ทรวงอกให้เสียงดังกังวาน มือขวาดีดโดยการคว ่ามือ ให้
คันเพี๊ยะอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ เวลาดีดใช้
นิ้วนาง กลาง และก้อย
วิธีดีดพิณ
1.เสียงป็อกคือการดีดที่ใช้นิ้วนางดีดสายเรียงล าดับ3จุด
2.เสียงใหลคือการเลื่อนใหลมือในขณะดีด
3. เสียงจก คือการดีดที่ใช้นิ้วก้อยของมือขวา
4