Page 11 - เครื่องดนตรีไทย
P. 11
เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดอีกชนิดหนึ่งมี 3 สาย นิยมใช้
บรรเลงเล่นกัน ในภาคอิสานของไทย บรรเลงเดี่ยวและบรรเลง
ผสมกับแคน โปงลาง ไห โหวด กลองฯเรียกว่า " วงดนตรี
พื้นเมืองอิสาน " นอกนั้นยังใช้บรรเลงประกอบการเล่นหมอล าใน
ชุดล าเพลินอีกด้วยพิณมีลักษณะคล้ายคลึงกับซึง ( เครื่องดีดของ
ภาคเหนือ ) เพียงแต่มีลักษณะต่างกันเล็กน้อย ส่วนประกอบของ
พิณมีดังนี้
• กะโหลก ท าด้วยไม้ลักษณะแบนรูปวงรี คล้ายใบไม้มีไม้แผ่น
บางๆปิดหน้ากะโหลก ตรงกลางเจาะเป็นรูระบายเสียงหรือเจาะ
เป็นลวดลายสวยงาม
• คันทวน ท าด้วยไม้แท่งเดียวกับกะโหลกหลัง-หน้า มีลักษณะ
เป็นสี่เหลี่ยมด้านหลังมนด้านหน้าแบนเพื่อติดนม ตอนปลายทวน
โค้งงอนไปทางซ้าย บางคันแกะสลักเป็นหัวพญานาค
• รางลูกบิด บริเวณก่อนถึงปลายทวนเจาะเป็นช่องยาว
พอประมาณเพื่อสอดสายผ่านลงไปพันผูกที่ลูกบิดด้านข้างทั้งสอง
เจาะรูส าหรับสอดใส่ลูกบิดโดย เจาะด้านซ้าย 2 รูและด้านขวา 1 รู
• ลูกบิด ท าด้วยไม้ กลึงหัวเป็นรูปเม็ดประกอบด้วยลูกแก้วตอน
ปลายเรียวเล็กเพื่อสอดใส่ไปในรูลูกบิด ให้ปลายโผล่ด้านใน
ส าหรับพันผูกสาย
• หย่องบนท าด้วยไม้อันเล็กๆติดต่อจากช่องลูกบิดลงมาเพื่อหนุน
สายให้ผ่านนม ตะพานหรือนม ท าด้วยไม้อันเล็กๆคล้ายหย่องบน
แต่เล็กกว่าติดเรียงล าดับต่อมาจากหย่องบนมี 11 นมโดยติดที่คัน
ทวนด้านหน้า
• สายใช้สายลวด๓เส้นโดยขึงจากหลัก ซึ่งท าด้วยแผ่นโลหะแปะ
ติดบริเวณตอนล่างของกะโหลกผ่าน" หย่องล่าง " ซึ่งท าด้วยไม้
เล็กๆหนุนให้สายผ่านหน้ากะโหลกผ่านนมหย่องบนลงไปยังช่อง
และพันผูกที่ปลายลูกบิดทั้งสามเพื่อบิดเร่งให้สายตึง หรือหย่อน
ได้ตามที่ต้องการ
หลักการดีดพิณอิสาน
ปกติผู้ดีดจะยืนดีดโดยใช้ผ้าหรือเชือกผูกพิณคล้องคอ ให้ตัว
กะโหลกอยู่กลางหน้าอกปลายชี้ขึ้นไปทางซ้ายของผู้ดีดใช้มือขวา
จับไม้ดีด ซึ่งท าด้วยเขาควายเฉือนเป็นแผ่นบางๆ(ปัจจุบันใช้ปิค
แทน ) ดีดปัดขึ้น-ลงในขณะเดียวกันใช้นิ้วของมือซ้ายกดที่สาย
ใกล้กับนมเพื่อให้เกิดเสียง
วิธีดีดพิณที่ท าให้เกิดเสียง
1.ดีดผ่านทั้ง3สายโดยกดสายเส้นเดียวจะเกิดเสียงประสานขึ้น
2.ดีดเป็นท านองทีละสายพร้อมทั้งกดทีละเส้นตามท่วงท านอง
เพลง
3. ดีดรัว คือการดีดให้มีพยางค์ถี่ๆและเร็ว
8