Page 14 - เครื่องดนตรีไทย
P. 14
ส่วนต่าง ๆ ของซอสามสายมีชื่อเรียกดังนี้
1. ทวนบน เป็นส่วนบนสุดของคันซอ คว้านด้านในให้เป็นโพรงโดยตลอด
ด้านบนสุดมีรูปร่างเป็นทรงเทริด ทวนบนนี้ เจาะรูด้านข้างส าหรับใส่ลูกบิด 3
ลูก ด้านหน้าตรงปลายทวนตอนล่าง เจาะรูส าหรับร้อยสายซอ ที่สอดออกมา
จากรัดอก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อกซอ ทวนบนนี้ท าหน้าที่คล้าย ๆ กับท่อ
อากาศ (Air column) ให้เสียงที่เกิดจากกะโหลกเป็นความถี่ของเสียง
แล้วลอดผ่านออกมาทางทวนบนนี้ได้
2. ทวนล่าง คือส่วนของซอที่ต่อลงมาจากทวนบน ท าเป็นรูปทรงกระบอก
และประดิษฐ์ลวดลายสวยงาม เช่นลงยาตะทอง ลงถมปัด ประดับมุก หรือ
อย่างอื่น เป็นการเพิ่มความวิจิตรงดงาม และเรียกทวนล่างนี้ว่า ทวนเงิน ทวน
ทอง ทวนมุก ทวนลงยา เป็นต้น ทวนล่างนี้สวมยึดไว้กับทวนบน และเป็นที่
ส าหรับผูก รัดอก เพื่อบังคับให้สายซอทั้ง 3 เส้นติดอยู่กับทวน นอกจากนั้น
ทวนล่าง ยังท าหน้าที่เป็นต าแหน่งส าหรับกดนิ้ว ลงบนสายในต าแหน่งต่างๆ
3. พรมบน คือส่วนที่ต่อจากทวนล่างลงมา ส่วนบนกลึงเป็นลูกแก้ว ส่วน
ตอนล่างท าเป็นรูปปากช้างเพื่อประกบกับกะโหลกซอ
4. พรมล่าง คือส่วนที่ต่อจากกะโหลกซอลงมาข้างล่าง ส่วนที่ประกบกับ
กะโหลกซอท าเป็นรูปปากช้าง เช่นเดียวกับส่วนล่างของพรมบน ตรงกลาง
ของพรมล่างเจาะรูด้านบนเพื่อใช้ส าหรับเป็นที่ร้อยหนวดพราหมณ์ เพื่อคล้อง
กับสายซอทั้งสามสายและเหนี่ยวรั้งให้ตึง ตรงส่วนปลายสุดของพรมล่างกลึง
เป็น เกลียวเจดีย์ และตอนปลายสุดเลี่ยมด้วย ทองค า หรือ ทองเหลืองเป็นยอด
แหลม เพื่อที่จะปักกับพื้นได้ สะดวกยิ่งขึ้น คันซอสามสายทั้ง 4 ท่อนนี้จะมี
ลักษณะกลวงตลอด ยกเว้นพรมล่างตอนที่เป็นเกลียวเจดีย์เท่านั้นที่เป็นส่วนที่
ตัน เพราะต้องการ ความแข็งแรง ในขณะปักสีเวลาบรรเลง และคันซอทั้ง 4
ท่อนนี้ จะสวมไว้กับแกนที่สอดไว้กับ กะโหลกซอ
5. ถ่วงหน้า ถ่วงหน้าของซอสามสาย เป็นอุปกรณ์ที่ส าคัญ ติดอยู่ตรงหน้าซอ
เพื่อควบคุมความถี่ของเสียง ท าให้มีเสียงนุ่มนวลไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น
6. หย่อง ท าด้วยไม้ไผ่ แกะให้เป็นลักษณะคู้ ปลายทั้งสองของหย่องคว้านเป็น
เบ้าขนมครกเพื่อท าให้เสียง ที่เกิดขึ้นส่งผ่านไปยังหน้าซอมีความกังวานมาก
ยิ่งขึ้น
7. คันสี (คันชัก) คันสีของซอสามสาย ประกอบด้วยไม้และหางม้า คันสีนั้น
เหลาเป็นรูปคันศร โดยมากนิยมใช้ไม้แก้ว เพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง และมี
ลวดลายงดงาม
เสียงของซอสามสาย
– สายเอก ถ้าปล่อยไม่จับสายจะเป็นเสียง ซอล และใช้ปลายนิ้วแตะที่ข้าง
สายโดยใฃ้นิ้วชี้ จะเป็นเสียง ลา, ใช้นิ้วกลางแตะที่ข้างสายจะเป็นเสียง ที, ใช้
นิ้วนางแตะที่ข้างสายจะเป็นเสียงโด, ใช้นิ้วก้อยแตะที่ข้างสายจะเป็นเสียง เร
(เสียงสูง), ใช้นิ้วก้อยรูดที่สายจะเป็นเสียง มี (เสียงสูง)
– สายกลาง ถ้าปล่อยไม่จับสายจะเป็นเสียง เร และใช้นิ้วชี้กดลงบนสายจะ
เป็นเสียง มี, ใช้นิ้วกลางกดลงบนสายจะเป็นเสียง ฟา, ใช้นิ้วนางกดลงบนสาย
เป็นเสียง ซอล
– สายทุ้ม ถ้าปล่อยไม่จับสายจะเป็นเสียง ลา และใช้นิ้วชี้กดลงที่สายจะเป็น
เสียง ที, ใช้นิ้วกลางกดลงที่สายจะเป็นเสียง โด, ใช้นิ้วนางกดลงที่สายจะเป็น
เสียง เร