Page 18 - เครื่องดนตรีไทย
P. 18
ระนาดเอก
ระนาดเป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ซึ่งเห็นได้ว่ามีวิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมก็คงใช้ไม้กรับ ๒ อันตี
เป็นจังหวะแล้วต่อมาเกิดความรู้เอาไม้มาท าอย่างกรับหลายๆอัน วางเรียงตีให้เกิดเสียงหยาบๆขึ้นก่อน
แล้วคิดท าไม้ รองรับเป็นรางวางเรียงราดไป เมื่อเกิดความรู้ความช านาญขึ้นก็แก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาด
ลดหลั่นกัน และท ารางรองให้อุ้มเสียงได้แล้วใช้เชือกร้อย "ไม้กรับ" ขนาดต่างๆนั้นให้ขึงติดอยู่บนราง
ใช้ไม้ตีเกิดเสียงลดลั่นกันตามต้องการ ใช้เป็นเครื่องบรรเลงเพลงได้แล้วต่อมาก็ประดิษฐ์แก้ไขตัดแต่งใช้
ตะกั่วกับขี้ผึ้งผสมกันติดหัวท้ายของไม้กรับถ่วงเสียงให้เกิดความไพเราะยิ่งขึ้น จึงบัญญัติชื่อเครื่องดนตรี
ชนิดนี้ว่า "ระนาด"
ระนาดทุ้มเหล็ก
ระนาดทุ้มเหล็ก เป็นเครื่องตีที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระอนุชาธิราชในรัชกาลที่ ๔
ได้ทรงพระราชด าริให้สร้างเพิ่มเติมอีกแบบหนึ่งโดย "ถ่ายทอดมาจากหีบเพลงฝรั่งอย่างเป็นเครื่องเขี่ยหวีเหล็ก"
ลูกระนาดคงท าอย่างเดียวกับระนาดทองแต่ท าเขื่องกว่าระนาดทองหรือระนาดเอกเหล็ก เพื่อเป็นเสียงทุ้มเลียน
อย่างระนาดทุ้ม มีจ านวน ๑๖ หรือ ๑๗ ลูก ลูกต้นยาวประมาณ ๓๕ซม. กว้างประมาณ ๖ ซม. ลูกอื่นก็ย่อมลงไป
ตามล าดับ จนถึง ลูกยอดยาวประมาณ ๒๙ ซม. กว้างประมาณ ๕.๕ ซม. ตัวรางระนาดยาวประมาณ ๑ เมตราการ
กว้างประมาณ ๒๐ ซม. มีชานยื่นออกไปทั้ง ๒ ข้างรางถ้านับส่วนกว้างรวมทั้งชาน ๒ ข้างด้วย ก็ประมาณ ๓๖
ซม. มีเท้ารองติดลูกล้อ ๔ เท้า ตัวรางสูงจากพื้นถึงขอบบน (รวมทั้งเท้าด้วย) สูง ๒๖ ซม
14