Page 22 - เครื่องดนตรีไทย
P. 22

ตะโพน

































                          ตะโพนในหนังสือเก่าเรียก" สะโพน " ก็มี รูปร่างคล้ายมุทิงค์ หรือ มฤคทรังค์ หรือ มทละของอินเดีย กล่าวคือ หน้าที่ขึงหนัง ๒ ข้าง

                          เรียวเล็กตรงกลางป่อง ของอินเดียใช้วางบนตักตีหรือมีสายสะพายเมื่อยืนตี ส่วนตะโพนหรือสะโพนของเรา มีเท้ารองให้ตะโพนวาง
                          นอนอยู่บนเท้าใต้ฝ่ามือซ้ายขวาตีได้ทั้งสองหน้า มฤคทรังค์ หรือ มทละ เป็นเครื่องหนัง ที่ใช้แพร่หลายในอินเดียในแต่โบราณมีนิยายว่า

                          พระพรหมาได้ทรงสร้างขึ้นเพื่อประกอบ วงหวะร าฟ้อนของพระศิวะเมื่อทรงมีชัยเหนือนครตรีปุระ





                                                                   กลองตะโพน
































                        กลองตะโพน คือ ตะโพนที่กล่าวมาในรายการ ๒๑ นั่นเอง แต่น ามาตีอย่างกลองทัด โดยใช้ไม้นวมที่ตีระนาด เป็นไม้ตี มิได้ใช้ฝ่ามือ

                        ตีอย่างตะโพน จึงเรียกกันว่า "กลองตะโพน" ตะโพนตีอย่างกลองทัดนี้ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงน ามาใช้คราว

                        ทรงปรับปรุงวงปี่พาทย์ ส าหรับประกอบการแสดงละคร ดึกด าบรรพ์ขึ้น เมื่อปลายรัชการที่ ๕ โดยทรงประดิษฐ์เท้าหรือที่ตั้งส าหรับ
                        วางรองตั้งตะโพนได้ ๒ลูก ให้หน้าตะโพนข้างหนึ่ง ตั้งตะแคงลาดมาทางผู้ตีอย่างกลองทัดตั้งขาหยั่งส าหรับใช้ในวงปี่พาทย์ดึกด า

                        บรรพ์ และยังน ามาใช้ในวงปี่พาทย์ไม้นวมแทนกลองทัด เมื่อบรรเลงภายในอาคาร เพื่อมิให้เสียงดังกึกก้องเกินไป











                                                                                                                                                 18
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27