Page 24 - เครื่องดนตรีไทย
P. 24
ร ามะนามโหรี
ร ามะนาขนาดเล็ก หน้ากว้างประมาณ ๒๖ ซม. ตัวร ามะนายาวประมาณ ๗ ซม. หนังที่ขึ้นตรึงด้วยหมุดโดยรอบ จะเร่งหรือลดเสียงให้
สูงต ่าไม่ได้ แต่มีเชือกเส้นหนึ่งเรียกกันว่า " สนับ " ส าหรับหนุนข้างในโดยรอบของหน้า ช่วยให้เสียงสูงและไพเราะได้ ตีด้วยฝ่ามือใช้
บรรเลงร่วมในวงมโหรี และเครื่องสาย เป็นเครื่องตีคู่กันกับโทน มโหรี ตัวร ามะนามโหรี มักจะประดิษฐ์ ท ากันอย่างสวยงามเช่นท า
ด้วยงา หรือตัวร ามะนาท าด้วยงาแต่ฝังไม้เป็น การสลับสี หรือร ามะนาเป็นไม้ฝังงาสลับสี โทนและร ามะนาคู่ของเรานี้ อาจใช้บรรเลง
ในลักษณะเดียวกับกลอง คู่ของอินเดียที่เรียกว่า " ตับลา " กระมัง
กลองแขก
กลองแขก กลองแขกรูปร่างยาวเป็นกระบอกแต่หน้าหนึ่งใหญ่เรียกว่า"หน้ารุ่ย"กว้างประมาณ ๒๐ ซ.ม. อีกหน้าหนึ่งเรียกว่า"หน้าต่าน" กว้าง
ประมาณ ๑๗ ซ.ม. หุ่นกลองยาวประมาณ ๕๗ ซ.ม. ท าด้วยไม้จริง หรือไม้แก่น เช่นไม้ชิงชันหรือไม้มะริดขึ้นหนัง ๒ หน้าด้วยหนังลูกวัวหรือ
หนังแพะ ใช้เส้นหวายผ่าซีกเป็น สายโยงเร่งเสียง โยงเส้นห่างๆแต่ต่อมาในระยะหลังคงเป็นเพราะหาหวายไม่สะดวก ในบางคราวจึงใช้ สาย
หวายโยงก็มี ส ารับหนึ่งมี ๒ ลูก ลูกเสียงสูงเรียกว่า"ตัวผู้ " ลูกเสียงต าเรียกว่า"ตัวเมีย" ตีด้วยฝ่า มือทั้ง ๒ หน้าให้เสียงสอดสลับกันทั้งสองลูก
กลองแบบนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " กลองชวา "
20