Page 23 - เครื่องดนตรีไทย
P. 23
โทนมโหรี
ทนมโหรี ตัวโทนท าด้วยดินเผา ด้านที่ขึ้นหนังโตกว่าโทนชาตรี ขนาดหน้ากว้างประมาณ ๒๒ ซม. ยาวประมาณ ๓๘ ซม. สาย
โยงเร่งเสียงใช้ต้นหวายผ่าเหลาเป็นเส้นเล็ก หรือใช้ไหมฟั่นเป็นเกลียว หนังที่ขึ้นหน้าใช้หนังลูกวัว หนังแพะ หนังงูเหลือม หรือ
หนังงูงวงช้าง ตีด้วยมือหนึ่ง และอีกมือหนึ่ง ท าหน้าที่ปิดเปิดทางล าโพงเช่นเดียวกับโทนชาตรี โดยเหตุที่ไทยชนิดนี้ใช้บรรเลง
ในวงเครื่องสายและวง มโหรี จึงเรียกกันว่า โทนมโหรี โทนมโหรีใช้ลูกเดียว แต่ตีขัดสอดสลับคู่กับร ามะนา โทนมโหรีนี้ดู
เหมือน จะตั้งใจท ากันด้วยความประณีตสวยงาม โดยสั่งท ามาจากประเทศจีนก็มี และ ตอนหางโทนนั้น บางลูกก็ ประดับมุก
บางลูกก็เคลือบเงินลงยา และบางลูกก็ประดับด้วยฝีมือประณีตบรรจง
ร ามะนา
ร ามะนาเป็นกลองขึงหนังหน้าเดียวชนิด Tambourine ขนาดไล่เลี่ยกันเว้นแต่ไม่มี Jingles หรือฉาบคู่ติดตาม
ขอบ หน้ากล่องที่ขึ้นหนังบานผายออก ตัวกลองสั้น รูปร่างคล้ายชามกะละมัง เข้าใจว่าเราจะได้ทั้งแบบอย่าง และรวมทั้งชื่อ
ของเครื่องดนตรีชนิดนี้มาจากมลายูก็มีกลองชนิดหนึ่ง เขาเรียกว่าระบานา (Rebana) ส าเนียง ก็คล้ายกัน แต่ปรากฏว่า
ค า " Rebana " นี้เป็นภาษาสปอร์ตุเกศ ถ้าอย่างนั้น มลายูอาจได้มาจากสปอร์ตุเกศอีก ต่อหนึ่งก็ได้ ร ามะนาของเรามี ๒
ชนิด คือ ร ามะนา มโหรี กับ ร ามะนาล าตัด
19