Page 21 - เครื่องดนตรีไทย
P. 21
ฆ้องวงใหญ่
ฆ้องวง เป็นเครื่องตีที่คิดประดิษฐ์สร้างให้วิวัฒนาการมาโดยล าดับ จากฆ้องเดี่ยว และฆ้องคู่ แล้วฆ้องราง วงฆ้องใช้ต้นหวายโป่งท าเป็น
ร้าน สูงประมาณ ๒๔ ซม. หวายเส้นนอกกับเส้นในห่างกันประมาณ ๑๔-๑๗ ซม. ดัดโค้งเป็นวงล้อมไปเกือบรอบตัวคนนั่งตี เปิดช่องไว้
ส าหรับทางเข้าด้านหลังคนตี ห่างกันราว ๒๐-๓๐ ซม. ขนาดของวงกว้างจากขอบวงในทางซ้ายไปถึงขอบวงในทางขวา กว้างประมาณ ๘๒
ซม. จากด้านหน้าไปด้านหลัง กว้างประมาณ ๖๖ ซม. พอให้คนตีนั่งขัดสมาธินั่งตีได้สบาย แล้วเจาะรูลูกฆ้องทางขอบฉัตร ลูกละ ๔ รู ใช้
เชือกหนังร้อยผูกกับเรือนฆ้อง ให้ปุ่มลูกฆ้องหงายขึ้นผูกเรียงล าดับขนาดลูกต้นไปหา ลูกยอดตั้งแต่ใหญ่ไปหาเล็ก เรียงล าดับเสียงตั้งแต่ต ่า
ไปหาสูง ฆ้องวงหนึ่งมีจ านวน ๑๖ ลูก ลูกต้นวัดผ่านศูนย์กลางประมาณ๑๗ ซม. อยู่ทางซ้ายมือด้านหลังผู้ตี และใช้ตีด้วยไม้ตีท าด้วยแผ่น
หนังดิบตัดเป็นวงกลมเจาะกลางสอดด้ามไม้ส าหรับมือถือ วงหนึ่งใช้ไม้ตี ๒ อัน ถือตีข้างละมือ การประดิษฐ์ฆ้องวงคงเกิดขึ้นก่อนระนาด
เพราะมีภาพแกะสลักวงปี่พาทย์แต่โบราณ มีฆ้องวงแต่ไม่มีระนาด และในสมัยโบราณ
ฆ้องวงเล็ก
ฆ้องวงเล็ก ปรากฏว่าสร้างกันขึ้นเมื่อรัชกาลที่ ๓ กรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีคณาจารย์ทางดุริยางค์ศิลปะ คิดประดิษฐ์ฆ้องขึ้นอีกขนาด
หนึ่งเหมือนกับฆ้องวงก่อน(๑๕)ทุกอย่าง แต่ขนาดย่อมกว่าเล็กน้อย วัดจากขอบวงด้านซ้ายมือถึงขอบวงในด้านขวา กว้างประมาณ
๘๐ ซม. จากด้านหน้าไปด้านหลัง๖๐ ซม. เรือนฆ้องสูง ๒๐ ซม. วงหนึ่งมีจ านวน ๑๘ ลูก ลูกต้นวัดผ่านศูนย์กลางประมาณ ๙.๕ ซม.
ใช้บรรเลงร่วมในวงปี่พาทย์ แต่นั้นมาปี่วงพาทย์ วงหนึ่งๆ จะใช้ฆ้อง ๒ วง ก็ได้เรียกฆ้องวงใหญ่แต่เดิมว่า " ฆ้องวงใหญ่ " และฆ้อง
วงขนาดเล็กที่ประดิษฐ์สร้างขึ้นใหม่นี้เรียกว่า"ฆ้องวงเล็ก" และฆ้องวงทั้ง ๒ วงนี้ นอกจากจะใช้บรรเลงร่วมในวงปี่พาทย์แล้ว ต่อมา
ได้ย่อขนาดสร้างขึ้นให้ย่อมลงอีกและใช้บรรเลงในวงมโหรีด้วย
17