Page 83 - เนื้อหา
P. 83

สรุป หุ้นกู้

                              ในการออกหุ้นกู้บริษัทมหาชนจ ากัด ต้องถือปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาด
                       หลักทรัพย์ และยังต้องปฏิบัติตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขใน

                       การจัดเอกสารเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นหรือหุ้นกู้ต่อประชาชนของผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจ ากัด ต่อ
                       นายทะเบียนฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2543) และต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จ ากัดพ.ศ.
                       2535
                       บริษัทสามารถจ าหน่ายหุ้นกู้ได้ 3 ราคา คือ

                            1. ราคามูลค่า
                            2. ราคาที่สูงกว่ามูลค่า
                            3. ราคาที่ต่ ากว่ามูลค่า
                       ในการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการจ าหน่ายหุ้นกู้ ต้องปฏิบัติตามลักษณะการจ าหน่ายหุ้นกู้ซึ่งแบ่งออกเป็น

                       3 ลักษณะคือ
                            1. การจ าหน่ายหุ้นกู้ตรงกับงวดบัญชีและตรงกับงวดดอกเบี้ย
                            2. การจ าหน่ายหุ้นกู้ไม่ตรงกับงวดบัญชีแต่ตรงกับงวดดอกเบี้ย

                            3. การจ าหน่ายหุ้นกู้ไม่ตรงกับงวดบัญชีและไม่ตรงกับงวดดอกเบี้ย
                       การบันทึกบัญชีทั้ง 3 ลักษณะจะมีการปฏิบัติ 3 ขั้นตอน ดังนี้
                            1. การบันทึกวันจ าหน่าย
                            2. การบันทึกการจ่ายดอกเบี้ย
                            3. การบันทึกการตัดส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้หรือส่วนต่ ามูลค่าหุ้นกู้

                       หุ้นกู้ออกจ าหน่าย สามารถไถ่ถอนหุ้นกู้ได้ 2 วิธี คือ
                            1. ไถ่ถอนหุ้นกู้ในคราวเดียวกัน
                            2 ไถ่ถอนหุ้นกู้เป็นงวดๆ

                       ในกำรออกหุ้นกู้ บริษัทอาจจะมีนโยบายวางแผนการไถ่ถอนหุ้นกู้ด้วยวิธีการกันเงินก าไรสะสมฝาก
                       ธนาคารเพื่อสะสมไปไถ่ถอนหุ้นกู้เมื่อครบก าหนด เรียกว่า เงินทุนจม
























                                                            ~ 79 ~
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88