Page 57 - โครงการ_Neat
P. 57

- 55 -








                      4.   ห้ามผู้รับฝากใช้ทรัพย์สินที่ฝากหากฝ่าฝืนผู้รับฝากต้องรับผิดเมื่อ

               ทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นสูญหาย หรือบุบสลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงแม้จะเป็นเพราะ


               เหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ทรัพย์สินนั้น ก็คงจะสูญหายหรือ


               บุบสลายอยู่นั่นเอง เช่น นายแดงฝากรถไว้กับนายดํา นายดําเอารถออกไปขับ


               ต่อมามี สิ่งของปลิวมาตกถูกรถทําให้เกิดรอยบุบ เช่นนี้นายดําต้องรับผิดชอบ


                      5. ผู้รับฝากต้องบอกกล่าวแก่ผู้ฝากโดยพลันเมื่อบุคคลภายนอกอ้างสิทธิ


               เหนือทรัพย์สินที่ฝาก


                      6. ผู้รับฝากต้องคืนทรัพย์ที่ฝากนั้น และเมื่อการฝากทรัพย์นั้นกรรมสิทธิ์ใน


               ทรัพย์ยังเป็น ของผู้ฝากอยู่ เพียงแต่ผู้รับฝากมีสิทธิครอบครอง ดอกผลของ


               ทรัพย์ที่ฝากยังคงเป็นของผู้ผาก ดังนั้น ในการส่งคืนทรัพย์ต้องคืนดอกผลไป


               ด้วยหากผู้รับฝากเบียดบังนําทรัพย์มาเป็นของตนเดยทุจริต จะมีความผิดฐาน


               ยักยอกทรัพย์


               กำรฝำกทรัพย์เฉพำะกรณี


                      กำรฝำกทรัพย์เฉพำะกรณี คือ การฝากทรัพย์ที่มีกฎหมายกําหนด


               หลักเกณฑ์ไว้เป็นการเฉพาะ ได้แก่ การฝากเงิน และการฝากของในโรงแรม

               การฝากเงิน คือ การนําเงินไปฝากไว้กับผู้รับฝาก ธนาคาร หรือองค์กรต่างๆ โดย


               การฝากเงิน ในลักษณะนี้ มุ่งเน้นที่ “มูลค่า” เงิน มากกว่า “คุณค่า” ของเงินตรา


               นั้นๆ ไม่ได้หมายความถึงการฝาก ธนบัตรโบราณ เหรียญโบราณ ซึ่งแบบนี้ก็ใช้


               หลักเกณฑ์การฝากทรัพย์ทั่วๆ ไป การฝากเงินกฎหมายกําหนด หลักเกณฑ์ดังนี้


                      1. ผู้รับฝากไม่จําต้องคืนเงินตราฉบับเดียวกับที่ฝากแต่ต้องคืนเงินให้ครบ


               ตามจํานวนที่ฝาก


                      2. ผู้รับฝากสามารถใช้เงินที่ฝากก็ได้แต่เพียงต้องคืนให้ครบถ้วนเท่านั้น
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62